วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พ่อ คือ ผู้ให้ทุกอย่างแก่ลูก


หากเอ่ยถึง พ่อ ก็คงไม่ต่างจากแม่ พ่อกับแม่เป็นคนหนึ่งคนเดียวกัน เลี้ยงดูลูกเช่นเดี่ยวกัน แม่คือ คอยระวังทุกอย่างแก่ลูก ให้อาหาร คือ เลือด ตั้งแต่รู้ว่า ลูกก่อตัวเป็นก้อนเลือด อดทน เฝ้าระวัง เพิ่มเติมส่วนที่เป็นประโยชน์แก่ลูกเสมอ เฝ้ามองพัฒนาการของลูกห่าง ภูมิใจ ดี

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พ่อผู้ทรงธรรมเหนือจิตใจลุก ๆๆ

พ่อและแม่ คือ ให้

ชีวิตหนึ่งที่มอบให้พ่อ

วันพ่อ 5 ธันวาคมมหาราช ของทุกปี


ลูกๆ ที่เป็นพสกนิกรชาวไทย เทิดทุลพ่อไว้เหนือสิ่งใด ลูกเหนือแค่ไหนก็ไม่เท่าพ่อเหนือย พ่อที่ให้เลือดเนื้อและชีวิต ลูกๆ ไม่เคยลือ พ่อที่ให้แผ่นดินลูกๆ อยู่ ลูกๆ ๆ ขอให้พ่อ จงมีพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง ลูกๆ จะทำตามพ่อ จะเดินตามรอยพ่อ ขอให้พ่อจงมีแต่ความสุข ทุกข์ใดที่พ่อมี ลูกๆ ทั่วประเทศขอรับไว้แทนพ่อทุกอย่าง เทิดทูลพ่อ รักพ่อองค์เดียวที่มี ขอให้พ่อจงพระเจริญ ด้วยพร ทั้ง 4 คืออายุ วรรณะ สุข พละ ด้วยเกล้าด้วยกระม่อมขอถวายพระพร

หนูมิ้ง

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ภาษาที่สองที่พ่อจาอยากให้ลูกเรียน

มิ้ง พ่อจารักหนูนะ พ่ออยากให้หนูเรียนเก่ง ทั้ง อังกฤษ และ คณิตศาสตร์ หนูจะได้เป็นคนดีในสังคม พ่อจาได้นำภาษาอังกฤษลงในบอกส์นี้ไว้เพื่อหนูจะได้อ่านและศึกษานะ พ่อจาไม่มีทรัพย์สมบัติอะไรจะให้นอกจากความรู้นะ

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พ่อจ๋า หนูรักพ่อ

คำว่า พ่อ เป็นคำร้องเรียกจากลูก ที่พูดออกจากความใกล้ชิด จากคำของแม่ที่เรียกสามีว่า "พ่อ" ลูกๆ ได้เรียก พ่อ กับ พ่อ อย่างไม่เอียงอาย ลูก ๆ ภูมิใจในตัวพ่อ แม้ว่า พ่อนั้นจะทำตัวอย่างไร ลูกไม่เคยดูถูกดูแคลนในสติปัญญาของพ่อเขาเลย พ่อ คือสิ่งเดียวที่ให้ความอบอุ่น และ มีความปลอดภัยเสมอ เพราะพ่อเป็นผู้มีอำนาจในตัวของคำว่า " พ่อ " ตลอดเวลา
คำกลอน
ลูกเอ๋ย

ลูกเอ๋ยลูกผูกพันกันหลายชาติ
และมิอาจขาดกันนั้นโดยง่าย
พ่อรักเจ้าเฝ้าหวงห่วงลูกชาย
พ่อเหนื่อยกายเพื่อลูกเพราะผูกพัน

ง าน ห นั ก .. พ่ อ ไ ม่ เ ค ย ท้ อ
สองมือของพ่อ จึงหยาบกร้าน
สู้อดทน ลำบากมาเนิ่นนาน
พ่อไม่เคยบ่นว่าเหนื่อยกับงาน ให้ใครทุกข์ใจ

รักที่มีให้ลูกเสมอ เท่าชีวิตของแม่


หญิงคนหนึ่ง คนที่เรา เรียกว่าแม่
หญิงคนที่ รักเราแท้ ไม่แปรผัน
หญิงคนที่ รักเรา เท่าชีวัน
หญิงคนนั้น ให้เราเกิด กำเนิดมา
หญิงคนนี้ ที่เราควร จะกราบไหว้
หญิงคนที่ เราทั้งหลาย ควรฝันหา
หญิงคนนั้น คนที่เรา เรียกมารดา
หญิงคนที่ เสียน้ำตา ตอนคลอดเรา
วันเราเกิด หญิงคนนี้ ที่ต้องเจ็บ
วันเราเจ็บ เขายิ่งเจ็บ กว่าหลายเท่า
วันเราสุข หญิงคนนี้ สุขกว่าเรา
วันเขาเศร้า แล้วเราไป อยู่ไหนกัน
คิดบ้างเถิด ลูกทุกคน จงได้คิด
คิดบ้างเถิด ใครที่ผิด ที่แปรผัน
คิดบ้างเถิด เราหรือเขา ที่ลืมกัน
คิดบ้างเถิด ใครลืมวัน ที่ผ่านมา
เราต่างหาก ที่มัวเมา จนลืมคิด
เราต่างหาก เราที่ผิด ไม่ไปหา
เราต่างหาก ที่ไม่เคย มีเวลา
เราต่างหาก ที่มันบ้า หลงลืมตัว
กลับไปเถิด กลับไป เยี่ยมแม่บ้าง
อย่าให้ท่าน ต้องอ้างว้าง ใจสลัว
อย่าหลงไฟ หลงแสงสี จนลืมตัว
อย่าเมามัว จนลืมแม่ ผู้รักเรา.....

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันแม่ เทิดทูลแม่เหนือสิ่งใด ในใจลูฏ



คำขวัญเนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ 2553

"แผ่นดินนี้ แม่ของลูก ใช้ปลูกข้าว กี่แสนก้าว ที่เดินซ้ำ ย่ำหว่านไถ บำรุงดิน จนอุดม สมดังใจ หวังนาไทย เป็นของไทย ไปนิรันดร์"

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันสุนทรภู่


พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย
สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกัน ฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกล หรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงานมีสามีใหม่ และมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คน เป็นหญิง ชื่อฉิมและนิ่ม ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัว เป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก

สุนทรภู่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน สันทัดทั้งสักวาและเพลงยาว เมื่อรุ่นหนุ่ม เกิดรักใคร่ชอบพอ กับนางข้าหลวง ในวังหลัง ชื่อแม่จัน ครั้นความทราบถึง กรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็กริ้ว รับสั่งให้นำสุนทรภู่ และจันไปจองจำทันที แต่ทั้งสองถูกจองจำได้ไม่นาน

เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ ทั้งสองก็พ้นโทษออกมา เพราะเป็นประเพณีแต่โบราณ ที่จะมีการ ปล่อยนักโทษ เพื่ออุทิศส่วนพระราชกุศลแด่ พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ ชั้นสูงเมื่อเสด็จสวรรคต หรือทิวงคตแล้ว แม้จะพ้นโทษ สุนทรภู่และจันก็ยังมิอาจสมหวังในรัก สุนทรภู่ถูกใช้ไปชลบุรี ดังความตอนหนึ่งในนิราศเมืองแกลงว่า

"จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา"

แต่เจ้านายท่านใดใช้ไป และไปธุระเรื่องใดไม่ปรากฎ อย่างไรก็ดี สุนทรภู่ได้เดินทางเลยไปถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า ๒๐ ปี สุนทรภู่เกิดล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ก็ล่วงถึงเดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙

วัยฉกรรจ์ (พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙) อายุ ๒๑ - ๓๐ ปี

หลังจากกลับจากเมืองแกลง สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสองค์เล็ก ของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ในช่วงนี้ สุนทรภู่ก็สมหวังในรัก ได้แม่จันเป็นภรรยา

สุนทรภู่คงเป็นคนเจ้าชู้ แต่งงานได้ไม่นาน ก็เกิดระหองระแหงกับแม่จัน ยังไม่ทันคืนดี สุนทรภู่ก็ต้อง ตามเสด็จพระองค์เจ้า ปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา สุนทรภู่ได้แต่งนิราศ เรื่องที่สองขึ้น คือ นิราศพระบาท สุนทรภู่ตามเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๓ ปี พ.ศ.๒๓๕๐

สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน ๑ คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนัก ในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกล (เจ้าครอก ทองอยู่) ได้รับอุปการะหนูพัดไว้ ชีวิตของท่านสุนทรภู่ช่วงนี้คงโศกเศร้ามิใช่น้อย

ประวัติชีวิตของสุนทรภู่ในช่วงปี พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙ ก่อนเข้ารับราชการ ไม่ชัดแจ้ง แต่เชื่อว่าท่าน หนีความเศร้าออกไป เพชรบุรี ทำไร่ทำนาอยู่กับหม่อมบุญนาคในพระราชวังหลัง ดังความตอนหนึ่งในนิราศ เมืองเพชร ที่ท่านย้อนรำลึกความหลัง สมัยหนุ่ม ว่า

"ถึงต้นตาลบ้านคุณหม่อมบุญนาค เมื่อยามยากจนมาได้อาศัย
มารดาเจ้าคราวพระวังหลังครรไล มาทำไร่ทำนา ท่านการุญ"

รับราชการครั้งที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๕๙ - ๒๓๖๗) อายุ ๓๐ - ๓๘ ปี

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นมหากวีและทรงสนพระทัยเรื่องการละครเป็นอย่างยิ่ง ในรัชสมัยของ พระองค์ ได้กวดขันการฝึกหัดวิธีรำจนได้ที่ เป็นแบบอย่างของละครรำมาตราบทุกวันนี้ พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละคร ขึ้นใหม่อีกถึง ๗ เรื่อง มีเรื่องอิเหนาและเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น

มูลเหตุที่สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการ น่าจะเนื่องมาจากเรื่องละครนี้เอง ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับกรณีทอดบัตรสนเท่ห์ เพราะจากกรณี บัตรสนเท่ห์นั้น คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องถูกประหารชีวิตถึง ๑๐ คน แม้แต่ นายแหโขลน คนซื้อกระดาษดินสอ ก็ยังถูกประหารชีวิต ด้วย มีหรือสุนทรภู่จะรอดชีวิตมาได้ นอกจากนี้ สุนทรภู่เป็นแต่เพียงไพร่ มีชีวิตอยู่นอกวังหลวง ช่วงอายุก่อนหน้านี้ก็วนเวียน และเวียนใจอยู่กับเรื่องความรัก ที่ไหนจะมี เวลามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง

(กรณีวิเคราะห์นี้ มิได้รับรองโดยนักประวัติศาสตร์ เป็นความเห็นของคุณปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ เขียนไว้ในหนังสือ "เที่ยวไปกับสุนทรภู่" ซึ่งเห็นว่ามูลเหตุที่สุนทรภู่ได้เข้า รับราชการ น่าจะมาจากเรื่องละครมากกว่าเรื่องอื่น ซึ่งข้าพเจ้า พิเคราะห์ดูก็เห็นน่าจะจริง ผิดถูกเช่นไรโปรดใช้วิจารณญาณ)

อีกคราวหนึ่งเมื่อทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกสิบขุนสิบรถ ทรงพระราชนิพนธ์บทชมรถทศกัณฐ์ว่า

"๏ รถที่นั่ง บุษบกบัลลังก์ตั้งตระหง่าน
กว้างยาวใหญ่เท่าเขาจักรวาล ยอดเยี่ยมเทียมวิมานเมืองแมน
ดุมวงกงหันเป็นควันคว้าง เทียมสิงห์วิ่งวางข้างละแสน
สารถีขี่ขับเข้าดงแดน พื้นแผ่นดินกระเด็นไปเป็นจุณ"

ทรงพระราชนิพนธ์มาได้เพียงนี้ ทรงนึกความที่จะต่อไปอย่างไรให้สมกับที่รถใหญ่โตปานนั้นก็นึกไม่ออก
จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ สุนทรภู่แต่งต่อว่า

"นทีตีฟองนองระลอก กระฉอกกระฉ่อนชลข้นขุ่น
เขาพระเมรุเอนเอียงอ่อนละมุน อนนต์หนุนดินดานสะท้านสะเทือน
ทวยหาญโห่ร้องก้องกัมปนาท สุธาวาสไหวหวั่นลั่นเลื่อน
บดบังสุริยันตะวันเดือน คลาดเคลื่อนจัตุรงค์ตรงมา"

กลอนบทนี้เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยิ่งนัก นับแต่นั้นก็นับสุนทรภู่เป็นกวีที่ปรึกษาด้วย
อีกคนหนึ่ง ทรงตั้งเป็นที่ขุนสุนทรโวหาร พระราชทานที่ให้ปลูกเรือนที่ท่าช้าง และให้มีตำแหน่งเฝ้าฯ เป็นนิจ
แม้เวลาเสด็จประพาสก็โปรดฯ ให้สุนทรภู่ลงเรือพระที่นั่งไปด้วย เป็นพนักงานอ่านเขียนในเวลาทรงพระราชนิพนธ์บทกลอน

ออกบวช (พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๘๕) อายุ ๓๘ - ๕๖ ปี

วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต นอกจากแผ่นดินและผืนฟ้าจะร่ำไห้ ไพร่ธรรมดาคนหนึ่งที่มีโอกาสสูงสุดในชีวิต ได้เป็นถึงกวีที่ปรึกษา ในราชสำนักก็หมดวาสนาไปด้วย

"ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ว่าแกล้งประมาทอีกครั้งหนึ่ง แต่นั้นก็ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมึนตึงต่อสุนทรภู่มา จนตลอดรัชกาลที่ ๒ ... "

จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เพียงคิดได้ด้วยเฉพาะหน้าตรงนั้นก็ตาม สุนทรภู่ก็ได้ทำการไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ประกอบกับ ความอาลัยเสียใจหนักหนาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ จึงลาออกจากราชการ และตั้งใจบวชเพื่อสนอง พระมหากรุณาธิคุณ สุนทรภู่ได้เผยความในใจนี้ ในตอนหนึ่ง ของนิราศภูเขาทอง ว่า

"จะสร้างพรตอตส่าห์ส่งบุญถวาย ประพฤติฝ่ายสมถะทั้งวสา เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป"

เมื่อบวชแล้ว ท่านได้ออกจาริกแสวงบุญไปยังที่ต่างๆ เล่ากันว่า ท่านได้เดินทางไปยังหัวเมืองต่างๆ หลายแห่ง เช่นเมืองพิษณุโลก เมืองประจวบคีรีขันธ์ จนถึงเมืองถลางหรือภูเก็ต และเชื่อกันว่า ท่านคงจะเขียนนิราศเมืองต่างๆ นี้ไว้อย่างแน่นอน เพียงแต่ ยังค้นหาต้นฉบับไม่พบ

ชีพจรลงเท้าสุนทรภู่อีกครั้ง เมื่อท่านเกิดไปสนใจเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและยาอายุวัฒนะ ถึงแก่อุตสาหะ ไปค้นหา ทำให้เกิด นิราศวัดเจ้าฟ้า และนิราศสุพรรณ ปี พ.ศ.๒๓๘๓ สุนทรภู่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ท่านอยู่ที่นี่ได้ ๓ พรรษา คืนหนึ่งเกิดฝันร้าย ว่าชะตาขาด จะถึงแก่ชีวิต จึงได้แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งทำให้ทราบเรื่องราว ในชีวิตของท่านอีก เป็นอันมาก จากนั้นจึงลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ เพื่อเตรียมตัวจะตาย

รับราชการครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๓๘๕ - ๒๓๙๘) อายุ ๕๖ - ๖๙ ปี

เมื่อสึกออกมา สุนทรภู่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรง พระยศเป็นสมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โปรดอุปถัมภ์ให้สุนทรภู่ ไปอยู่พระราชวังเดิมด้วย ต่อมา กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทรงพระเมตตา อุปการะสุนทรภู่ด้วย กล่าวกันว่า ชอบพระราชหฤทัย ในเรื่องพระอภัยมณี จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ นอกจากนี้ สุนทรภู่ยังแต่งเรื่อง สิงหไตรภพถวายกรมหมื่น อัปสรฯ อีกเรื่องหนึ่ง

แม้สุนทรภู่จะอายุมากแล้ว แต่ท่านก็ยังรักการเดินทางและรักกลอนเป็นที่สุด ท่านได้แต่งนิราศไว้อีก ๒ เรื่องคือนิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ ขณะที่ท่านมีอายุ ได้ ๖๕ ปีแล้ว ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๖๙ ปี

ผลงานบางส่วนของสุนทรภู่

นิราศ
๑. นิราศเมืองแกลง แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๕๐ ตอนต้นปี
๒. นิราศพระบาท แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๕๐ ตอนปลายปี
๓. นิราศภูเขาทอง แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๗๑
๔. นิราศเมืองสุพรรณ (โคลง) แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๘๔
๕. นิราศวัดเจ้าฟ้า ฯ แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๗๕
๖. นิราศอิเหนา
๗. นิราศพระแท่นดงรัง
๘. นิราศพระประธม
๙. นิราศเมืองเพชร แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๘๘-๒๓๙๒
นิทาน
๑. เรื่องโคบุตร แต่งในราวรัชกาลที่ ๑
๒. เรื่องพระอภัยมณี แต่งในราวรัชกาลที่ ๒-๓
๓. เรื่องพระไชยสุริยา แต่งในราวรัชกาลที่ ๓
๔. เรื่องลักษณวงศ์ (มีสำนวนผู้อื่นแต่งต่อ และไม่ทราบเวลาแต่ง)
๕. เรื่องสิงหไตรภพ แต่งในราวรัชกาลที่ ๒

สุภาษิต
๑. สวัสดิรักษา แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๔-๗
๒. เพลงยาวถวายโอวาท แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๓
๓. สุภาษิตสอนหญิง แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๐-๒๓๘๓

บทละคร
๑. เรื่องอภัยณุราช

บทเสภา
๑. เรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม แต่งในรัชกาลที่ ๒
๒. เรื่องพระราชพงศาวดาร แต่งในรัชกาลที่ ๔

บทเห่กล่อม
๑. เห่เรื่องจับระบำ
๒. เห่เรื่องกากี
๓. เห่เรื่องพระอภัยมณี
๔. เห่เรื่องโคบุตร

รวมวรรณกรรม

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

มัคคุเทศน้อย/น้องมิ้ง เพชรบูรณ์

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต


ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันอะไร ทุกคนคงทราบว่า เป็น"วันสุนทรภู่"กวีเอกของโลกแต่จะมีใครทราบหรือไม่ว่าวันนี้เป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" ด้วยเช่นกัน



…เป็นที่ทราบกันดีว่า ผลจากปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก ประเทศต่างๆ จึงได้พยายามร่วมมือกันเพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด ดังนั้น ในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่าง วันที่ 17-26 มิถุนายน 2530


ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยเหตุที่กำหนดวันที่นี้เพื่อเป็นที่ระลึกแก่การถอนสัมปทานการค้าฝิ่นโดยนายอำเภอ หลิน เจ๋อสวี ตำบลหู่เหมิน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ก่อนสงครามฝิ่นครั้งแรก


วันต่อต้านยาเสพติดในประเทศไทย


ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหา "ยาเสพติด" มาเป็นเวลานาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง "คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ" ใช้ชื่อย่อว่า กปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ


ต่อมาในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่ายเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519


ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มี "คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด" หรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ


สำนักงานป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศมาโดยตลอด และได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

 
Posted by Picasa

เด็กดื่มน้ำอัดลมมีผลอัตรายต่อสุขภาพ/มักคุเทศน้อย มิ้ง


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการสำรวจสุขภาวะเด็กไทยอายุ 6-15 ปี ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 พบว่าเด็กไทยส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพร่างกาย เช่น พบว่านิยมดื่มน้ำอัดลม น้ำหวานสูงถึงร้อยละ 97.54 ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก
ในขณะเดียวกันก็นิยมรับประทานขนมกรุบกรอบสูงถึงร้อยละ 97.6 ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคลักษณะนี้ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคอ้วน นำไปสู่การเป็นโรคเรื้อรังต่อไปในอนาคตได้ เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือด คณะรัฐมนตรีจึงมีมติตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2554 จะต้องทำให้เด็กมีพฤติกรรมการบริโภคหรือมีพฤติกรรมตามแนวสุขบัญญัติ กำหนดไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ซึ่งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น มีหลายประการ อาทิ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ภูมิต้านทานโรค ช่วยให้เด็กไม่เจ็บป่วยได้ง่าย จะช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการเรียน จะช่วยให้เด็กเยาวชนมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ และช่วยให้เด็กอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งนี้

ทั้งนี้ ในวันที่ 10 มิถุนายน กระทรวงสาธารณสุข จะจัดงานสุขบัญญัติแห่งชาติ ประจำปี 2553 ที่ห้องโถงใต้อาคาร 3 ชั้น 1 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เวลา 09.00 – 15.00 น. ภายใต้แนวคิดว่า เด็กยุคใหม่ใส่ใจสุขบัญญัติ
โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนไว้ 4 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
1. ยุทธศาสตร์ที่เน้นการส่งเสริมและการสร้างองค์ความรู้และการพัฒนาพฤติกรรมด้านสุขภาพ
2. ยุทธศาสตร์ในการสร้างโอกาสและการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ การเข้าถึงในเรื่องการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
3. ยุทธศาสตร์การสร้างลักษณะนิสัยให้นำไปสู่แนวปฏิบัติที่ถูกต้องตามสุขบัญญัติ และ
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและผลักดันนโยบายเพื่อเดินหน้าไปสู่เป้าหมายต่อไป
นายจุรินทร์กล่าว

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

มัคคุเทศน้อย/น้องมิ้ง เพชรบูรณ์



ภูทับเบิก อยู่ที่ตำบลวังบาล จ. เพชรบูรณ์ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,768 เมตร ซึ่งเป็นจุดสูงสุด
ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ภูมิประเทศมีความงดงามเป็นที่กล่าวถึง เป็นความงามของทะเลภูเขาตามธรรมชาติป่าไม้อุดม
้สมบูรณ์ อากาศบริสุทธ์ เย็นสบายตลอดปี ในตอนเช้ามีหมอกและกลุ่มเมฆ มองเห็นเป็นทะเลหมอกตัดกับยอดภู
ูสีเขียว เป็นแหล่งปลูกกะหล่ำปลีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ภูทับเบิก เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญมากที่หนึ่ง เพราะเป็นจุดรองรับน้ำฟ้ากลางหาว เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2542
เวลา 15.59 น. ณ สำนักสงฆ์บ้าน ทับเบิก เพื่อนำไปรวมเป็นน้ำเพชรน้อมเกล้าถวายเป็นพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ใน
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542เป็นสถานที่ที่มีเครื่องวัดอุณหภูมิที่ใหญ่
่ที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นเส้นทางเชื่อมโยงสู่แหล่งท่องเที่ยวและ ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ชาวบ้านที่ ภูทับเบิก เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง หรือแม้ว ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากทางภาคเหนือ และได้ใช้พื้นที่
ปลูกฝิ่นสำหรับจำหน่าย ในปี พ.ศ. 2510 ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ได้ชักชวนให้ชาวเขาเหล่านี้เข้าร่วมต่อต้านรัฐบาล
แต่เมื่อมีการเข้าปราบปรามและชาวบ้านได้เข้ามอบตัว จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัด
เพชรบูรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2525 โดยชาวบ้านได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการทำแปลงเกษตรแบบขั้นบันได
วิถีชีวิตของชางม้งที่นี่ ยังคงมีการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ในทุกๆ ปี จะจัดงานปีใหม่แบบดั้งเดิม และมีการแสดง
วัฒนธรรมด้วย
ที่ยอดภูทับเบิกจะมีไร่กระหล่ำปลีเต็มไปหมดทุกภูเขา เราสามารถ เดินไปดูเก็บกระหล่ำปลี ซึ่งก็เป็น
ชาวเขาม้งจะขอซื้อมาทานก็ได้ ราคาแสนถูก และสดเหนือคำบรรยายครับ และอย่าลืมขับรถไปเที่ยวในเส้นทาง
ไปหมูบ้าน ที่อยู่ห่างจากยอดทับเบิก 5 กิโลเมตร เส้นทางสายนี้นับว่า วิวสวยมาก มองไปทางซ้ายก็กระหล่ำปลี ขวากระหล่ำปลี เป็นภูเขากระหล่ำปลี เหนือยอดกระหล่ำปีเป็นปุยหมอกจางๆ สวยมาก
จากสภาพดังกล่าว จึงทำให้ภูทับเบิกเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และดึงดูดใจนักท่องเที่ยวที่นิยมสัมผัส
แก่นแท้วิถีชีวิต วัฒนธรรมชุมชน และแหล่งธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่กำลังมี
กระแสความนิยมอยู่ทั่วไป ภายใต้คำกล่าวที่ว่า "นอนทับเบิก สัมผัสความหนาว ดูดาวบนดิน"

***สำคัญมากหากใครต้องการไปดูกะหล่ำยักษ์ที่ภูทับเบิก ชาวบ้านจะปลูกกันช่วงนี้ค่ะ***
ช่วงเดือน ก.ค.-ต.ค. ซึ่งเป็นช่วงหน้าฝนก็จะได้บรรยากาศแบบอลังการด้วยทะเลหมอกจากไอฝน
ช่วงเดือน พ.ย.ในหน้าหนาวซึ่งจะเป็นช่วงที่สวยงามที่สุด

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หนูมิ้งมักกุเทศน้อนนำเที่ยวเพชรบูรณ์ นำเสนออาหารประจำจังหวัดเพชรบูรณ์


มะขามหวาน
มะขามหวานเป็นพืชเศรษฐกิจ อย่างหนึ่งของจังหวัด มีรสหวานขึ้นชื่อจน เป็นที่รู้จักกันทั่วไป มะขามหวานที่ปลูกใน จังหวัดเพชรบูรณ์ มีหลายพันธุ์ เช่น หมื่นจง นายหยัด หรือสีทอง ศรีชมภู ขันตี ปากดุก เจ้าเนื้อเศรษฐกิจ ฝักดาบ ฯลฯ สามารถ หาซื้อได้ราว เดือนกุมภาพันธ์ และในราวปลายเดือนมกราคมของทุกปีจะ มีงานเทศกาล มะขามหวานร่วมกับงานกาชาด โดยมีการประกวดมะขาม ธิดา มะขาม และการละเล่นต่างๆ
นอกจากมะขามหวานแล้ว ก็ยังมีผลหรือน้ำกระทกรก (น้ำเสาวรสหรือแพชั่น ฟรุท) พืชผักเมืองหนาว และที่อำเภอหล่มสักยังมีสะเดาหวานซึ่งมีรสชาติ แปลกกว่า สะเดาในภาคอื่นๆ ของไทย สะเดาหวานจะเริ่มมีจำหน่ายก่อนหน้า มะขามหวานประมาณ 1 เดือน
ไก่ย่างวิเชียรบุรี
เป็นอาหารที่ขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีลักษณะพิเศษ คือ เนื้อ ไก่จะย่างจนสุกแห้งสม่ำเสมอ หนังเหลืองกรอบ น่ารับประทาน มีจำหน่ายที่ บริเวณสามแยกวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี
ขนมจีนหล่มเก่า
มีลักษณะแปลกกว่าขนมจีนที่อื่น คือ การทำเส้นขนมจีน จะทำขึ้นใหม่ในขณะ นั้นเลย และจัดแบ่งให้พอดีคำ พร้อมน้ำยาขนมจีนอยู่ 4 ชนิด คือ น้ำยา น้ำพริก น้ำยาป่า และน้ำปลาร้า จัดใส่ภาชนะหม้อดิน พร้อมเครื่องประกอบขนมจีน ประเภทผักสด ผักต้ม และผักดอง
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพืชเมืองหนาว
นักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อได้ที ่ไร่ บี. เอ็น. โดยทางไร่ ได้จัดทำ เป็นผลิต ภัณฑ์แปรรูปเพื่อสุขภาพ ปราศจากสาร กันบูด ใช้เป็น อาหารเจได้ เช่น เห็ดหอม ดองสี่รส น้ำพริกเผา เห็ดหอม หัวผักกาดดอง สามรส กานาฉ่าย ฯลฯ

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภูหินร่องกล้า



มีเส้นทางขึ้นทั้งทางพิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ข้างบนมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย เช่น ลานหินแตก ลานหินปุ่ม และน้ำตกต่าง ๆ

หมู่บ้านทับเบิก


เส้นทางขึ้นภูหินร่องกล้า ทับเบิก อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์เป็นหมู่บ้านม้ง ที่น่าไปเที่ยวชมและเส้น ทางขึ้นภูหินร่องกล้านี้พาดผ่าน ขุนเขาหลายลูก มีทิวทัศน์งดงาม

น้ำตกศรีดิษฐ์


บนเขาค้อ มีต้นกำเนิดมาจากขุนเขาสลับซับซ้อนไหลลงน้ำตก ศรีดิษฐ์ ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ หลังจากนี้สายน้ำจะไหลผ่านเข้าไปยังอุทยานแห่งชาติ ทุ่งแสลงหลวง ไปพิษณุโลกเป็นน้ำตกแก่งโสภา น้ำตกปอย น้ำตกแก่งซอง ฯลฯ

เมืองเก่าศรีเทพ


เมืองเก่าแก่สร้างขึ้นสมัยขอมเรือง อำนาจ มีอายุกว่าพันปี โดยดูจากหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

เขาค้ออนุสรณ์ เพชรบูรณ์ /หนูมิ้ง ข่าวท่องเที่ยว


เมื่อมาเที่ยวเขาค้อ นอกจากจะได้ชื่นชมทิวทัศน์ สัมผัสอากาศบริสุทธิ์เหมือนได้ไปสวิตเซอร์แลนด์แล้ว ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อีกด้วย

อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ ตั้งอยู่บนยอดเขาค้อ สร้างขึ้นเพื่อ เทิดทูนวีรกรรมของพลเรือน ตำหรวจ ทหาร ที่ได้พลีชีพในการ สู้รบ เพื่อปกป้องพื้นที่ในเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511-2525 การก่อสร้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ใช้หินอ่อนทั้งหมด ผู้ออกแบบคือ ศ.ดร.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ขนาดและรูปร่างของอนุสรณ์สถาน นี้ มีความหมายแตกต่างกัน คือ รูปสามเหลี่ยมหมายถึง การปฏิบัตรการ ร่วมกันระหว่างพลเรือน ตำหรวจ ทหาร

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คำดีๆ จากลูก /หนูมิ้ง ข่าวผู้เยาว์


บุตร

บุตรคือใคร?

ความหมายของบุตร

บุตรคือ

ผู้ยกพ่อแม่ออกจากขุมนรกชื่อ “ปุตตะ” นรกคือความร้อนใจที่ไม่มีลูก
ผู้ที่สืบทอดสายโลหิตจากพ่อแม่
ผู้รับมรดกจากพ่อแม่
ผู้ที่ปิดตาให้พ่อเวลาตายและทำบุญอุทิศให้
ผู้เป็นที่พึ่งพาของพ่อแม่
ผู้เป็นลูกหนี้ของพ่อแม่ที่จะต้องใช้หนี้ให้คุ้มค่ากัน
ผู้นำพ่อแม่ให้ถึงนิพพาน

บุตรที่ดี คือ ผู้ที่สามารถทำให้พ่อแม่ได้รับความอิ่มใจ ชื่นใจ สบายใจตลอดกาล

“บุตร” กับ “ลูก”

“บุตร” จะใช้สำหรับ “มนุษย์ “ เท่านั้น

“ลูก” ส่วนมากจะใช้สำหรับลูกคน, ลูกสัตว์เดรัจฉาน, ลูกผลไม้ ตัวอย่างเช่น ลูกคน, ลูกแมว ลูกหมา, ลูกวัว, ลูกมะพร้าว, ลูกมะละกอ, ลูกระเบิด ฯลฯ เราคงไม่เคยมีใครอุตริไปใช้ว่า บุตรแมว บุตรหมา, บุตรวัว, บุตรมะพร้าว, บุตรมะละกอ บุตรระเบิด, เป็นแน่ ถ้าลูกคนเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่เราก็เรียกว่า “บุตร”

ประเภทของบุตรและลูก

ลูก มีผู้แยกประเภทไว้ 5 จำพวกคือ

1. “ลาก” คือลูกที่ไม่ดี ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ ท่านสั่งให้อยู่กลับไป ท่านสั่งให้ไปกลับอยู่ บางคนทำชั่วติดคุกติดตะรางพลอยลากพ่อแม่ติดคุกทางใจด้วย

“แลก” คือ ลูกที่บังคับพ่อแม่ เมื่อต้องการสิ่งใดก็จะเอาให้ได้ดังใจไม่คำนึงถึงหัวอกของพ่อแม่ว่าฐานะเป็นอย่างไร พ่อแม่บางคนต้องขายไร่ขายนาเพื่อสนองความต้องการของลูก
“ลอก” คือลูกที่ปอกลอก ขโมยเงินพ่อแม่ไปเล่นการพนัน ติดสิ่งเสพติดผลาญเงินพ่อแม่
“เลิก” คือการเพิกถอนไม่เอาเป็นธุระ ประกาศตัดขาดความเป็นพ่อแม่ลูก
“ลูก” คือลูกที่ดี ทำตัวเหมาะสม เชื่อฟังพ่อแม่ว่านอนสอนง่าย ประเภทนี้เรียกว่า “บุตรที่ประเสริฐ”
ลูก ยังแบ่งได้อีก 3 ประเภทคือ

1. “อันเตวาสี” คือ ลูกศิษย์

2. “ทินนกะ” คือ ลูกเลี้ยง

3. “อัตรชะ” คือ ลูกในไส้


บุตร” มี 3 ประเภทคือ

1. อวชาตบุตร คือ บุตรที่มีคุณธรรมต่ำกว่าพ่อแม่

2. อนุชาตบุตร คือ บุตรที่มีคุณธรรมเสมอพ่อแม่

3. อภิชาตบุตร คือ บุตรที่มีคุณธรรมสูงกว่าพ่อแม่



“โย จ ปุตฺตานมสฺสโว ในบรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรที่เชื่อฟังเป็นบุตรที่ประเสริฐสุด”

2.บุตรเกิดจากอะไร?

2.1 ทางร่างกาย เกิดจากความรักของพ่อแม่

2.2 ทางจิตใจ เกิดจากความสำนึกในพระคุณของพ่อแม่ที่มีต่อตน แล้วกระทำต่อท่านให้เกิดความสบายใจอิ่มใจชื่นใจ


3.เป็นบุตรเพื่ออะไร?

เพื่อ เดินทางไปสู่นิพพาน หรือเข้าถึงพระเจ้าอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของศาสนา ซึ่งเป็นชีวิตที่สงบเย็นหมดปัญหา ตามที่พ่อแม่เดินทางไปถึงหรือกำลังเดินทางอยู่


4.จะเป็นบุตรได้อย่างไร?

4.1 โดย การทำหน้าที่ของบุตรที่ดีดังนี้

พ่อแม่เลี้ยงเรามาแล้วก็เลี้ยงท่านตอบ บำรุงพ่อแม่ด้วยปัจจัยสี่
ช่วยทำกิจกรรมการงานของพ่อแม่
ดำรงวงศ์ตระกูลของพ่อแม่
ประพฤติตนให้เป็นคนสมควรรับทรัพย์มรดกของพ่อแม่
เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย
ยกย่องสรรเสริญคุณงามความดีของพ่อแม่
ส่งเสริมให้พ่อแม่มีคุณธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปเช่น
เมื่อท่านไม่มีศรัทธา ชักนำให้มีศรัทธา

เมื่อท่านไม่มีจิตใจในการให้ทานชักนำให้ท่านให้ทาน

เมื่อท่านไม่มีศีลชักนำให้ท่านรักษาศีล

เมื่อท่านไม่มีปัญญา ชักนำให้ท่านเกิดปัญญาด้วยการเจริญภาวนา

เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วหมั่นทำบุญอุทิศให้
สรุปหน้าที่ของบุตรที่ดี ที่จะต้องตอบแทนคุณพ่อแม่ โดยย่อ 4 ประการ คือ

เลี้ยงดูทางกาย
เลี้ยงดูทางจิตใจ
ทำให้พ่อแม่รู้ธรรมะ
ทำตัวเองให้เป็นอนุสาวรีย์ที่ดีที่สุดของพ่อแม่
ผลดี ของการทำหน้าที่บุตรที่ดี

ทำให้พ่อแม่สบายใจ สุขใจ
ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากบัณฑิต
เป็นที่รักของคนทั่วไป
ใคร ๆ อยากคบหาสมาคม
เป็นผู้มีความเจริญสุขในชีวิต
โทษ ที่ไม่สามารถเป็นบุตรที่ดีได้

ทำให้พ่อแม่เดือดร้อนใจ
ถูกติเตียนจากบัณฑิต
เป็นที่เกลียดชังของคนทั่วไป
ใคร ๆ ไม่อยากคบหาสมาคมด้วย
เป็นผู้ไม่มีความเจริญสุขในชีวิต

คุณของพ่อแม่ ยากแก่การทดแทน

บุคคลใดให้มารดานั่งบนบ่าข้างหนึ่ง ให้บิดานั่งบนบ่าข้างหนึ่งและบุคคลนั้นเป็นผู้มีอายุ 100 ปี มีชีวิตอยู่ 100 ปีได้ทำการขัดสี การขยำ การให้อาบน้ำ การบีบนวด ให้แก่มารดาบิดาทั้งสองมารดาบิดาได้ถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่บนบ่าทั้งสองนั้นถึงอย่างนั้นก็ดี ก็ยังไม่เชื่อว่า ได้ตอบแทนคุณมารดาบิดาได้สิ้นสุด.............

ถึงบุตรจะให้มารดาบิดาตั้งอยู่ในความเป็นพระราชา เป็นอิสราธิบดีผู้เป็นใหญ่ยิ่งในแผ่นดินใหญ่อันนี้ อันบริบูรณ์ด้วยแก้วเจ็ดประการนั้นก็ดียังไม่เชื่อว่า ตอบแทนคุณมารดาบิดาได้สิ้นสุด..........................

ข้อนี้เพราะเหตุใด.............

เพราะมารดาบิดาเป็นผู้มีคุณมาก คือ เป็นผู้ทำบุตรให้เติบโต เป็นผู้เลี้ยงดูบุตร เป็นผู้ทำให้บุตรได้เห็นโลกนี้..................

ส่วนผู้ใดได้ทำให้มารดาบิดา ผู้ไม่มีศรัทธา ให้มีศรัทธา ทำมารดาบิดา
ผู้ไม่มีศีล ให้เป็นผู้มีศีลทำมารดาบิดา ผู้มีความตระหนี่ ให้เต็มไปด้วยการสละแบ่งปัน

ผู้นั้นได้ชื่อว่าตอบแทนคุณมารดาบิดาได้สิ้นสุดยิ่งกว่าคุณมารดาบิดาทำให้แก่ตน

“ลูกคนไหนทำชั่วเหมือนกรีดเอาเลือดพ่อแม่ไปประจาน

ลูกคนไหนทำดีเหมือนเอาชื่อเสียงพ่อแม่ไปเปิดเผยบูชา”

“พ่อแม่มีลูกดีเหมือนเทวดาจากสวรรค์มาเกิด

พ่อแม่มีลูกไม่ดีเหมือนสัตว์นรกมาเกิดดุด่าพ่อแม่”

“โลกนี้ไม่มีใครรักเราเท่าพ่อแม่ คนอื่นรักเรามักหวังผลจากเรา”

“โลกจะดี เพราะมีเด็กดี เด็กจะดีเพราะมีพ่อแม่ดี พ่อแม่ไม่ดีสร้างลูกเป็นอันธพาล

พ่อแม่คือผู้สร้างโลกคือลูก”

วันงดสูบบูหรี่โลก/มิ้ง ข่าวผู้เยาว์


มะเร็งหรือเนื้อร้าย CANCER


ลักษณะทั่วไป
มะเร็งหรือเนื้อร้าย คือ เนื้องอกชนิดร้ายที่กลายมาจากเนื้อเยื่อปกติของร่างกาย มีการเจริญ
เติบโตและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อยู่นอกเหนือการควบคุมของร่างกาย และมีโทษต่อ
ร่างกาย ในปัจจุบันมะเร็งเป็นสาเหตุการตายในอันดับแรก ๆ ของคนไทย ที่พบบ่อยในบ้านเรา
ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งในช่องปาก
พบมากในคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็ก และคนหนุ่มสาวได้

สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน ซึ่งพอจะแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ
1. ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น
- ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- เชื้อชาติ ชาวญี่ปุ่นเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมาก ชาวจีนเป็นมะเร็งของโพรงหลังจมูก และ
หลอดอาหารมาก
- เพศ มะเร็งตับ มะเร็งปอด พบมากในผู้ชาย มะเร็งของเต้านม มะเร็งผิวหนัง พบมากในผู้หญิง
- อายุ มะเร็งของลูกตา (Retinoblastoma) มะเร็งของไต พบมากในเด็ก
- กรรมพันธุ์ มะเร็งเต้านมบางชนิด มะเร็งของต่อมไทรอยด์บางชนิด มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่ พบว่า มีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ เป็นต้น
2. ปัจจัยภายนอกร่างกาย ได้แก่
2.1 สารกายภาพต่างๆ ได้แก่ การระคายเคืองเรื้อรัง เช่น
- ฟันปลอมที่ไม่กระชับ เวลาเคี้ยวอาหารจะมีการเสียดสีกับเหงือกหรือเพดานปาก อาจทำให้
เกิดมะเร็งของเหงือก หรือเพดานปากได้
- การกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มร้อนจัดเป็นประจำ อาจจะมีการระคายบริเวณหลอดอาหาร
อาจทำให้เป็นมะเร็งของหลอดอาหารได้
- รังสีต่างๆ ถ้าร่างกายได้รับเป็นระยะนาน ๆ ก็อาจเกิดมะเร็งอวัยวะต่าง ๆ ได้
- แสงอัลตราไวโอเลต อาจทำให้เป็นมะเร็งของผิวหนัง และริมฝีปาก ถ้าถูกแดดจัด ๆ เป็นระยะ
นาน ๆ

2.2 สารเคมี ในปัจจุบันพบสารก่อมะเร็ง (carcinogen) มากกว่า 450 ชนิด อยู่ในรูปของอาหาร
พืช และสารเคมีต่าง ๆ เช่น
- สารหนู อาจทำให้เป็นมะเร็งของผิวหนัง
- บุหรี่ มีสารเบ็นซ์ไพรีน (benzpyrine) ที่เรียกว่า "ทาร์" หรือ "น้ำมันดิน" และสารเคมีพวก
อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (aromatic hydrocarbon) ทำให้เกิดมะเร็งปอด ช่องปาก ลำคอ
กล่องเสียง หลอดอาหาร ตับอ่อน ปากมดลูก กระเพาะปัสสาวะได้
- แอลกอฮอล์ ทำให้เกิดมะเร็งช่องปาก ลำคอ กล่องเสียง ตับ หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่ เต้านม
- เบนซีน ทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- การเคี้ยวหมากหรือการจุกยาฉุน นอกจากจะมีการระคายเรื้อรังแล้ว ยังมีสารเคมีที่ทำให้เป็น
มะเร็งของช่องปากได้
- สารไนโตรซามีน (nitrosamine) ในอาหาร ทำให้เกิดมะเร็งของตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่
- ดีดีที เมื่อเข้าในร่างกาย อาจเปลี่ยนเป็นสารไดไนโตรซามีน ซึ่งมีฤทธิ์เหมือนไนโตรซามีน

2.3 ฮอร์โมน ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งช่องคลอด และโพรงมดลูก
ฮอร์โมนแอนโดรเจน มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
2.4 การติดเชื้อ เช่น
- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี และซี มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งตับ
- การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV/Human papilloma virus) มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง
ปากมดลูก มะเร็งกล่องเสียง หรือทอนซิล
- การติดเชื้อไวรัสเอชทีแอลวี-1 (HTLV-1/Human T-cell leukemia virus)
มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- การติดเชื้อไวรัสอีบีวี (EBV/Epstein-Bar virus) สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิด
เบอร์กิต (Burkitt's lymphoma) และมะเร็งโพรงหลังจมูก
- การติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง, มะเร็งของหลอด
เลือดที่เรียกว่า Kaposi sarcoma
- การติดเชื้อ เอชไพโลไร (H. pylori/Helicobacter pylori) มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง
กระเพาะอาหาร
2.5 สารพิษ เช่น อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) จากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหาร ทำให้เกิดมะเร็ง
ของตับ
2.6 พยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ตับ ทำให้เกิดมะเร็งของตับ
2.7 อาหาร
- ภาวะขาดอาหาร เช่น โรคตับแข็ง ซึ่งเกิดจากการขาดสารโปรตีน จะกลายเป็นมะเร็งตับได้ง่าย
- การบริโภคอาหารพวกไขมันมาก อาจสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ รังไข่ ต่อม
ลูกหมาก มดลูก และตับอ่อน
- การบริโภคผักและผลไม้ วันละ 400-800 กรัม ช่วยลดการเกิดมะเร็งช่องปาก ลำคอ หลอด
อาหารกระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน เต้านม และกระเพาะปัสสาวะ

อาการ
ในระยะแรกมักจะไม่ปรากฏอาการ ต่อมาเมื่อเป็นมากขึ้น (อาจนานเป็นเดือน เป็นปี) จะมี
อาการทั่วไป (พบร่วมกันในมะเร็งทุกชนิด) คือ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
อาจมีไข้ เรื้อรัง ท้องอืดเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน ซีด เป็นลม ใจหวิว คล้ายหิวข้าวบ่อย
ส่วนอาการเฉพาะของแต่ละโรค (ซึ่งมักเกิดขึ้นก่อนจะมีอาการทั่วไป) เกิดจากก้อนมะเร็งไป
กดเบียดหรือทำลายอวัยวะที่เป็น พอจะสรุปได้ดังนี้
1. มะเร็งผิวหนัง ส่วนมากจะเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือ จุดตกกระในคนแก่
โดยมีอาการคันแตกเป็นแผล เรื้อรังไม่ยอมหาย โดยไม่มีอาการเจ็บปวด ต่อมาแผลโตขึ้นเร็ว
และมีเลือดออก มีสาเหตุสัมพันธ์กับการถูกแสงแดด (แสงอัลตราไวโอเลต) การกินยาที่เข้า
สารหนู หรือน้ำมันดินที่มีผสมอยู่ในยาจีนยาไทย การสัมผัสถูกสารหนู หรือน้ำมันดิน การระคาย
เรื้อรังต่อไฝ ปานหรือหูดที่มีอยู่ก่อน
2. มะเร็งในช่องปาก จะมีก้อนหรือแผลเรื้อรังเกิดขึ้นที่ริมฝีปาก เยื่อบุช่องปาก ลิ้น โดยเริ่มจาก
ฝ้าขาวๆที่เรียกว่า ลิวโคพลาเคีย (Leukoplakia) มีสาเหตุสัมพันธ์กับการระคายเรื้อรัง เช่น กิน
หมาก จุกยาฉุน ฟันเกหรือใส่ฟันปลอมไม่กระชับ ดื่มเหล้าเข้มข้น (ไม่ผสมเจือจาง) สูบบุหรี่
3. มะเร็งที่จมูกและโพรงหลังจมูก มีอาการเลือดออกทางจมูก หน้าชา คัดจมูก ปวดศีรษะ
ต่อมาอาจมีเลือดปนน้ำเหลืองออกทางจมูก หูอื้อ กลืนไม่ได้ ตาเข ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต มะเร็ง
ที่โพรงหลังจมูก มีสาเหตุสัมพันธ์กับการดื่มเหล้าเข้มข้น สูบบุหรี่ การติดเชื้อไวรัสอีบีวี (EBV)
4. มะเร็งที่กล่องเสียง มีอาการเสียงแหบเรื้อรังและอาจมีอาการเจ็บคอ เวลากลืนเหมือนมีก้าง
ติดคอต่อมามีเลือดออกปนกับเสมหะ มีสาเหตุสัมพันธ์กับการดื่มเหล้าเข้มข้น การสูบบุหรี่จัด
การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี
5. มะเร็งปอด มีอาการไอเรื้อรัง น้ำหนักลด ไอออกเป็นเลือดปนเสมหะ มีสาเหตุสัมพันธ์กับการ
สูบบุหรี่ การสูดควันดำจากท่อไอเสียรถ เขม่าจากโรงงาน สารใยหิน (asbestos) หรือฝุ่นนิกเกิล
6. มะเร็งหลอดอาหาร เริ่มแรกอาจรู้สึกเจ็บเวลากลืนอาหาร ต่อมากลืนข้าวสวยไม่ได้ ต่อมากลืน
ข้าวต้มไม่ได้ จนในที่สุดกลืนได้แต่ของน้ำ ๆ หรือ กลืนอะไรก็ไม่ลงเลย พบมากในผู้ชาย มีสาเหตุ
สัมพันธ์กับการกินอาหาร และดื่มของร้อน ๆ (เช่น น้ำชาร้อน ๆ), การดื่มเหล้าเข้มข้น, การสูบ
บุหรี่,ภาวะขาดวิตามินเอ เป็นต้น
7. มะเร็งกระเพาะอาหาร มีอาการท้องอืด แน่นท้องอยู่เรื่อย เบื่ออาหาร ต่อมาอาจมีอาเจียน
คลำก้อนได้ที่ใต้ชายโครงซ้าย น้ำหนักลด ซีด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ มีสาเหตุสัมพันธ์กับ
การเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ จากเชื้อเอชไพโลไร (H. pylori) แบบเรื้อรัง, การกินอาหาร
ที่มีสารไนเทรตหรือไนโตรซามีน, อาหารเค็มหรืออาหารหมักเกลือ, อาหารประเภทรมควัน,
กรรมพันธุ์, การมีประวัติการผ่าตัดกระเพาะอาหาร เป็นต้น
8. มะเร็งตับอ่อน เริ่มแรกอาจมีอาการท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ต่อมามีอาการปวดท้อง และ
ปวดหลังดีซ่าน ถ่ายอุจจาระสีซีดขาว เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีสาเหตุสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่
สารไนโตรซามีนสารไฮโดรคาร์บอน การกินอาหารพวกไขมันและโปรตีนสูง และอาจมีสัมพันธ์
กับกรรมพันธุ์
9. มะเร็งลำไส้เล็ก มักมีอาการปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือถ่ายดำ น้ำหนักลด เป็นไข้
หรือมีภาวะลำไส้อุดตัน (ปวดท้องรุนแรง อาเจียน) บางรายอาจมีอาการดีซ่าน ถ่ายอุจจาระสีซีด
ขาว อาจคลำได้ก้อนในช่องท้อง อาจมีสาเหตุสัมพันธ์กับการเป็นลำไส้เล็กอักเสบเรื้อรัง
10. มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอาการท้องผูกสลับกับท้องเดินแบบเรื้อรัง หรือถ่ายเป็นเลือด หรือมูกปน
เลือดเรื้อรัง ปวดท้อง ปวดหลัง ซีด น้ำหนักลด มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ เช่น ภาวะโคเลส
เตอรอลในเลือดสูง, การกินอาหารที่มีกากใยน้อย แต่กินพวกไขมันมาก, ประวัติการเป็นมะเร็ง
ในญาติพี่น้อง เป็นต้น
11. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะมีต่อมน้ำเหลืองโตเป็นก้อนที่บริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบ อาจมี
ไข้เรื้อรัง มีสาเหตุสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส เอชทีแอลวี-1, เชื้ออีบีวี, เอดส์, การได้รับยาเคมี
บำบัด หรือรังสีบำบัดมาก่อน เป็นต้น
12. มะเร็งเต้านม คลำได้ก้อนที่เต้านม หัวนมบุ๋ม (เดิมเป็นปกติ เพิ่งมาบุ๋มตอนหลัง) หรือมีน้ำ
เหลืองหรือเลือดออกทางหัวนม ต่อมาจะมีต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกันโต ผู้หญิงที่เสี่ยง
ต่อการเป็นโรคนี้ เช่น ผู้หญิงที่มีมารดาเป็นมะเร็งเต้านม ก่อนวัยหมดประจำเดือน หรือมีญาติ
พี่น้องเป็นโรคนี้หลังวัยประจำเดือน, ผู้หญิงเกิน 50 ปี ที่ยังไม่มีบุตร, ผู้หญิงที่มีบุตรคนแรก
เมื่ออายุเกิน 30 ปี, ผู้หญิงที่มีประวัติเป็นโรคเต้านมเรื้อรัง, คนอ้วน, ผู้ที่สัมผัสถูกรังสี หรือดื่ม
เหล้า
13. มะเร็งปากมดลูก มีเลือดออกเวลาร่วมเพศ มีเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด หรือมี
ตกขาวเรื้อรัง มีสาเหตุสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชพีวี (HPV/Human papilloma virus) ของปาก
มดลูกซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร่วมกับปัจจัยเสริมอื่น ๆ เช่น การกินยาเม็ดคุมกำเนิด
การสูบบุหรี่เป็นต้น โรคนี้พบมากในผู้หญิงที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย มีสามีหลายคน หรือ
มีสามีสำส่อนทางเพศ และในหญิงบริการ
14. มะเร็งอัณฑะ พบมีก้อนแข็งที่ถุงอัณฑะ และโตขึ้นเรื่อย ๆ บางครั้งอาจมีอาการปวดร่วม
ด้วย สาเหตุ ยังไม่ทราบ พบว่า ผู้ที่มีอัณฑะไม่เลื่อนลงถุงอัณฑะ ซึ่งเป็นมาแต่กำเนิด อาจค้าง
อยู่ในช่องท้อง หรือขาหนีบ มีโอกาสเป็นมะเร็งอัณฑะมากขึ้น
15. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัดและบ่อย มีสาเหตุสัมพันธ์
กับการสูบบุหรี่ การสัมผัสถูกสารอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (aromatic hydrocarbon) ที่เป็น
สารประกอบของสีที่ใช้ทางอุตสาหกรรม, การกินอาหารพวกเนื้อปิ้ง ย่าง และไขมันมาก
16. มะเร็งต่อมลูกหมาก มักไม่มีอาการแสดง จนกระทั่งแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง ทำ
ให้มีอาการขัดเบา ปัสสาวะลำบาก หรือ ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลังหรือปวด
สะโพกน้ำหนักลด มักพบในคนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีสาเหตุสัมพันธ์กับฮอร์โมนแอนโดรเจน
และพบว่าผู้ที่มีประวัติญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ หรือเคยทำหมันชาย มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้
สูงขึ้น
17. มะเร็งกระดูก มีอาการข้อบวม กระดูกบวม บางครั้งพบหลังเกิดอุบัติเหตุ ทำให้เข้าใจว่า
เป็นกระดูกหักได้
18. มะเร็งของลูกตาในเด็ก (Retemoblastoma) นัยน์ตาดำของเด็กมีสีขาววาวคล้ายตาแมว
เด็กจะบ่นว่าตาข้างนั้นมัว หรือมองอะไรไม่เห็น เมื่อเป็นมากขึ้น ตาจะเริ่มปูดโปนออกมานอก
เบ้าตา
19. มะเร็งรังไข่หรือไต มีอาการมีก้อนในท้อง ท้องมาน ส่วนมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ
มะเร็งในสมอง จะมีอาการแบบเดียวกับเนื้องอกในสมอง มะเร็งต่อมไทรอยด์

การรักษา
หากสงสัย โดยเฉพาะคนที่มีอาการไข้เรื้อรังเป็นแรมเดือน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดย
ไม่พบอาการที่ชัดเจนอื่นๆ หรือมีอาการเข้าได้กับสัญญาณอันตรายประการใดประการหนึ่ง* ควร
ส่งไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อทำการตรวจพิเศษ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ
เอกซเรย์ทำสะแกน (scan) ตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ (biopsy) และให้การรักษาด้วยการผ่าตัด, ฉายรังสี
(รังสีบำบัด),หรือให้ยารักษามะเร็ง (เคมีบำบัด) หรือปลูกถ่ายอวัยวะ (เช่น ไขกระดูก)
ผลการรักษา ขึ้นกับชนิดของมะเร็ง ระยะความรุนแรงของโรค และสภาพของผู้ป่วย (ความร่วม
มือในการรักษา, การปฏิบัติตน, ความแข็งแรงขะงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย, กำลังใจ เป็นต้น)
มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งต่อมน้ำ
เหลืองบางชนิด, มะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด, มะเร็งในช่องปาก, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งโพรง
หลังจมูก,มะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นต้น ถ้าหากได้รับการรักษาตั้งแต่แรก อาจมีชีวิตอยู่ได้นาน หรือ
อาจหายขาดได้ส่วนมะเร็งตับหรือปอดมักอยู่ได้ไม่นาน เฉลี่ยประมาณ 6-12 เดือน


*สัญญาณอันตราย 7 ประการ
อาการของมะเร็งในระยะเริ่มแรก อาจสรุปได้ 7 ประการได้แก่
1.การเป็นแผลที่ไม่รู้จักหาย (ปกติควรจะหายภายใน 2 สัปดาห์)
2.การมีตุ่ม ไต ก้อนแข็ง เกิดขึ้นในที่ซึ่งปกติไม่ควรมี โดยเฉพาะบริเวณเต้านม ในช่องท้อง
บริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ
3.มีอาการผิดปกติเรื้อรังของระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ กลืนอาหารไม่ลง
ท้องผูกสลับ กับท้องเสียอยู่เรื่อย ถ่ายเป็นมูกปนเลือดเรื้อรัง
4.มีอาการไอเรื้อรัง หรือเสียงแหบแห้งอยู่นาน
5.มีการเปลี่ยนแปลงของหูด ไฝ ปาน ที่เคยมีอยู่ก่อน เช่น วันดีคืนดี ก็มีอาการคันเกาแตกเป็นแผล
6.มีอาการผิดปกติของประจำเดือนในผู้หญิง เช่น มีประจำเดือนกะปริดกะปรอย
7.มีน้ำเหลืองหรือเลือด หรือสิ่งผิดปกติอื่น ๆ ออกจากตา หู จมูก เต้านม ช่องคลอด ทวารหนัก

ข้อแนะนำ
1. การรักษาโรคนี้ผู้ป่วยจำต้องมีความอดทน และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่าเชื่อชาวบ้าน
ด้วยกันอย่างผิด ๆ อย่าเปลี่ยนหมอเปลี่ยนโรงพยาบาลบ่อย และอย่าหันไปพี่งยาหม้อหรือไสยศาสตร์
แทนการแพทย์แผนปัจจุบัน วิธีการดังกล่าวอาจช่วยให้เกิดกำลังใจดีขึ้น แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน
ว่าจะรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้
2. ทั้งผู้ป่วยและญาติ ควรหาทางเสริมสร้างกำลังใจ ด้วยการยอมรับความจริง, ทำใจให้อยู่กับ
ปัจจุบันและใช้เวลาปัจจุบันให้มีคุณค่าที่สุด, ระหว่างการรักษากับแพทย์และยังสามารถทำกิจกรรม
ต่าง ๆ ได้ดี ก็ทำหน้าที่การงานที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด, หาโอกาสช่วยเหลือผู้อื่น, ทำสมาธิ หรือเจริญ
สติสวดมนต์ภาวนาตามหลักศาสนาที่นับถือ, เจริญมรณสติ และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญวาระสุดท้าย
ของชีวิต, หาทางเข้ากลุ่ม พูดคุยปรับทุกข์ และให้กำลังใจร่วมกันกับผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งด้วยกัน (เช่น
การเข้า กลุ่มหรือชมรมช่วยเพื่อน)
3. มะเร็งเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าตรวจพบและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่เป็น
ดังนั้นจึงควรแนะนำให้ประชาชนทั่วไปทราบถึง " สัญญาณอันตราย 7 ประการ" ของโรคนี้ หากสง
สัยควรปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่น ๆ เมื่อแพทย์ตรวจแล้วว่าไม่เป็นมะเร็ง ก็สบายใจได้อย่าได้วิตก
กังวลจนเกินเหตุ
4. ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติ ก็ควรหมั่นปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจเช็กมะเร็งในระยะเริ่มแรก
(ก่อนปรากฏอาการ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เคยมีญาติพี่น้องเป็นมะเร็ง ตามแนวทางดังนี้
4.1 ทั้งชาย และหญิง
- อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจมะเร็งทวารหนักด้วยวิธีส่องกล้อง (sigmoidoscope) ทุก 3-5 ปี และ
ตรวจอุจจาระดูว่า มีเลือดออกหรือไม่ โดยวิธีที่เรียกว่า "Occult blood test" ทุกปี
- อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจมะเร็งทวารหนัก ด้วยการใช้นิ้วตรวจภายในทวารหนัก (digital rectal
examination) ทุกปี
4.2 เฉพาะผู้ชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก ด้วยการใช้นิ้วตรวจภายใน
ทวารหนัก และตรวจเลือดหาสารพีเอสเอ (PSA/Prostate-specific antigen)
4.3 เฉพาะผู้หญิง
- อายุ 18 ปีขึ้นไป ทั้งโสดและแต่งงานแล้ว หรืออายุต่ำกว่านี้ที่มีเพศสัมพันธ์บ่อย (โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งอายุ 35-60 ปี ที่แต่งงานแล้ว) ควรตรวจหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก ด้วยวิธีแพ็ปสเมียร์
(Pap smear/Papanicolaou test) ปีละครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 3 ครั้ง เมื่อพบว่าปกติ ก็เว้นไป
ตรวจทุก
3-5 ปี หรือตามคำแนะนำของแพทย์
- อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทุกเดือน
- อายุ 20-40 ปี ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมทุก 3 ปี และอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจปีละครั้ง
- อายุ 40-50 ปี ควรตรวจหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ด้วยการถ่ายภาพรังสี ที่เรียกว่า แมมโม
กราฟี (mammography) ทุก 1-2 ปี และอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุกปี

การป้องกัน
การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันมะเร็ง
1. พยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายเป็นประจำ, พักผ่อนให้เพียงพอ,
หาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ อย่าอยู่ในที่ ๆ อากาศไม่บริสุทธิ์ งดสิ่งเสพติด เช่น
เหล้า บุหรี่ หมากพลู ยาฉุน, รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑฑ์ปกติ โดยคิดจากดัชนีความหนา
ของร่างกาย (BMI/Body mass index) ตามสูตรดังนี้

ดัชนีความหนาของร่างกาย = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วย ส่วนสูง(เป็นเมตร) ยกกำลังสอง

ปกติจะอยู่ในช่วง 20-24.9 กก./ตารางเมตร ถ้าต่ำกว่า 20 แสดงว่าน้ำหนักน้อยเกินไป ถ้ามากกว่า
24.9 ก็แสดงว่าน้ำหนักมากเกินไป
2. อย่ากินอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ร้อน ๆ
3. อย่ากินอาหารดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ (โดยเฉพาะปลาน้ำจืดดิบ) หรืออาหารที่มีเชื้อรา (เช่น ถั่วลิสง
บด พริกแห้ง หัวหอม กระเทียมที่ขึ้นรา)
4. พยายามหลีกเลี่ยงอาหารโปรตีนหมัก เช่น ปลาร้า ปลาส้ม หมูส้ม แหนม หรือ เนื้อสัตว์ ที่หมัก
โดยผสมดินประสิว (เช่น เนื้อเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก แฮม) ถ้าจะกินควรทำให้สุกเพื่อทำลายสาร
ไนโตรซามีนเสียก่อน
5. พยายามอย่ากินอาหาร หรือขนมที่ใส่สีย้อมผ้า (ซึ่งทำให้ดูสีสดใสน่ากิน) หรืออาหารที่มียาฆ่า
แมลงเจือปนโดยเฉพาะ ดีดีที หรือยาที่เข้าสารหนู
6. ลดอาหารที่มีไขมัน (เช่น มันสัตว์, ของทอด, ของผัดน้ำมัน, อาหารใส่กะทิ) และจำกัดการกิน
น้ำตาล และของหวาน อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์ปกติ
ส่วนเนื้อสัตว์ใหญ่ (เช่น หมู วัว ควาย แกะ) ควรกินไม่เกินวันละ 80 กรัม (3 ออนซ์) ควรเลือกกิน
ปลาและเนื้อสัตว์เล็กแทนสัตว์ใหญ่ ทางที่ดีควรกินสารโปรตีนจากถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จาก
ถั่วเหลือง (เช่น เต้าหู้ เนื้อเทียม) แทนเนื้อสัตว์
7. กินผัก (เช่น ผักใบเขียว ผักกะกล่ำ ดอกกะหล่ำ ผักคะน้า เป็นต้น), ผลไม้ (เช่น ฝรั่ง แอปเปิล
มะละกอ องุ่น ฟักทอง มะเขือเทศ ส้ม เป็นต้น, เมล็ดธัญพืช (เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง งา
ลูกเดือย ถั่ว ต่าง ๆ เป็นต้น) หัวพืชต่าง ๆ (เช่น เผือก มัน แครอต หัวไช้เท้า เป็นต้น) และพวกกล้วย
ให้มาก ๆ ทุกวัน
อาหารเหล่านี้จะมีสารที่ช่วยป้องกันมะเร็ง เช่น กากใย, สารฟีนอล (phenol), สารฟลาโวน
(flavones)สารแคโรทีน (carotene) เป็นต้น
ผักและผลไม้ควรกินวันละ 400-800 กรัม (15-30 ออนซ์) หรือ 5 ส่วนหรือมากกว่า กินให้มากและ
หลากหลายตลอดทั้งปี (1 ส่วนเท่ากับผักสด 1 ถ้วยตวงขนาด 250 มล. หรือผักสุกครึ่งถ้วยตวง หรือ
ผลไม้ 1 ผล หรือผลไม้หั่นครึ่งถ้วยตวง) ส่วนเมล็ดธัญพืช หัวพืชต่าง ๆ และพวกกล้วย ควรกินวันละ
600-800 กรัม (20-30 ออนซ์) หรือ 7 ส่วนหรือมากกว่า พยายามกินอาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการ
แปรรูป
8. ลดการกินอาหารของรมควัน ย่าง หรือของทอดจนเกรียม (เพราะมีสารก่อมะเร็ง)
9. จำกัดการกินเกลือและอาหารเค็ม ผู้ใหญ่กินเกลือวันละไม่เกิน 6 กรัม (7.5 มล.หรือหนึ่งช้อนชา
ครึ่ง) ส่วนเด็กวันละไม่เกิน 3 กรัมต่อ 1,000 กิโลแคลอรี
10. อย่าอยู่กลางแดดจัด ๆ เป็นเวลานาน ๆ

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
1. การคลำเต้านมในท่ายืน ใช้ฝ่ามือด้านตรงข้ามคลำตรวจเต้านมทีละข้าง สังเกตดูว่ามีก้อนอะไร
ดันอยู่ หรือสะดุดใต้ฝ่ามือหรือไม่ (มะเร็งของเต้านมมักจะพบที่ส่วนบนด้านนอกของเต้านมมาก
กว่าส่วนอื่น จึงควรสังเกตดูบริเวณนี้ให้ละเอียด)
2. และ 3. การดูเต้านมตรงหน้ากระจกเงา ในท่ามือเท้าเอว และท่าชูมือขึ้นเหนือศีรษะ สังเกตดู
ลักษณะเต้านมทั้ง 2 ข้างโดยละเอียด เปรียบเทียบดูขนาด รูปร่าง หัวนม และการเปลี่ยนแปลงของ
ผิวหนังทุกส่วนของเต้านม ( เช่น รอยนูนขึ้นผิดปกติ, รอยบุ๋ม, หัวนมบอด, ระดับของหัวนมไม่เท่า
กัน)
4. การคลำเต้านมในท่านอน ควรใช้หมอนหรือผ้าห่มหนุนตรงสะบัก ให้อกด้านที่ จะตรวจแอ่นขึ้น
ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ
5. (ในท่านอน) ใช้ฝ่ามือข้างซ้ายคลำเต้านมข้างขวาโดยคลำไปรอบๆ หัวนมเป็นรูปวงกลม ไล่จาก
ด้านนอกเข้ามายังหัวนม
6. แล้วใช้นิ้วบีบหัวนม สังเกตดูว่ามีน้ำเหลือง หรือเลือดออกจากหัวนมหรือไม่ ให้ทำการตรวจ
เต้านมข้างขวาโดยใช้มือซ้าย ทำซ้ำข้อ 4,5,6

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันครู และพิธีไหว้ครู หนูมิ้ง นำเสนอ





พิธีไหว้ครู

พิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง และนับเป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู การไหว้ครู ยังเป็นการแสดงตน ว่าตนเองขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง เป็นการเคารพครูให้ถูกต้อง แสดงความนอบน้อมอย่างถูกวิธี ปวารณาตนให้ครูได้รับรู้ ว่าเราเป็นศิษย์ของท่านแล้ว พร้อมที่จะน้อมรับคำสั่งสอน ดุด่าว่ากล่าวจากท่านทุกประการ

การไหว้ครูมีใช้ในหลายกิจกรรมเช่น การไหว้ครูในโรงเรียน พิธีกรรมของโรงเรียนในวันครู การไหว้ครูมวย เป็นการไหว้ครูด้วยลีลาของศิลปะมวยไทย เช่นเดียวกับกระบี่กระบอง การไหว้ครู ก่อนการแสดงศิลปะดนตรี เช่น หนังตะลุง และการไหว้ครูในงานประพันธ์ เรียกว่า บทไหว้ครู หรือ อาเศียรวาท (อาเศียรพาท ก็ว่า) เป็นการกล่าวระลึกถึงบุญคุณครู และขอความเป็นมงคล

เนื้อหา
1 พิธีไหว้ครูในโรงเรียน
1.1 ดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครู
2 วิธีจัดงาน
2.1 สถานที่
2.2 สิ่งที่ต้องเตรียมในการไหว้ครู
2.3 พิธีการ
3 วันครู
4 อ้างอิง
5 แหล่งข้อมูลอื่น

พิธีไหว้ครูในโรงเรียน
ได้มีการแนะนำว่า บทความนี้หรือบางส่วนของบทความนี้ควรย้ายไปที่โครงการวิกิตำรา (อภิปราย)
เนื่องจากมีเนื้อหาไม่ตรงตามนโยบายของวิกิพีเดีย แต่อาจเหมาะสมกับโครงการวิกิตำรามากกว่า

โดยปรกติสถานศึกษามักจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีวันใดวันหนึ่งในราวเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน

ดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครู
ในพิธีไหว้ครูนับตั้งแต่สมัยก่อน จะใช้ดอกไม้หลัก 3 อย่างในการทำพาน ซึ่งดอกไม้ ความหมายในการระลึกคุณครู ได้แก่
หญ้าแพรก สื่อถึง ขอให้เรียนได้เร็วเหมือนหญ้าแพรก ที่โตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำดุด่าของครูบาอาจารย์
ดอกเข็ม สื่อถึง ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม
ดอกมะเขือ สื่อถึง การเปรียบเทียบว่า มะเขือนั้น จะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึง นักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง
ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อนๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่างๆได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก
วิธีจัดงาน
การพิธีไหว้ครู ตามแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ จะต้องเตรียมสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
สถานที่
โต๊ะหมู่บูชา โดยตั้งไว้ที่สูงบนเวทีชิดด้านหลัง ข้างหน้ามีกระถางดอกไม้และธูปเทียน และ โต๊ะ เพื่อว่างพานดอกไม้และธูปเทียนที่นำมาบูชา
หนังสือ เพื่อให้ประธานเจิม โดยเอาหนังสือวางไว้บนพาน บนโต๊ะเล็กหน้าที่บูชา
ที่นั่งประธาน และ คณาจารย์ จัดไว้ข้างๆ ที่บูชา
ที่นั่งสำหรับนั่งเรียน
[แก้] สิ่งที่ต้องเตรียมในการไหว้ครู
พานดอกไม้ ประกอบด้วยพืชชนิดต่าง ๆ เช่น หญ้าแพรก (หมายถึง การเจริญงอกงามของสติปัญญา) ดอกมะเขือ (หมายถึง การอ่อนน้อมถ่อมตน) ดอกเข็ม (หมายถึง เฉลียวฉลาด) จะใส่เท่าไรก็ตามให้สวยงาม พอควร
ธูปเทียน
พิธีการ
เมื่อประธานมาถึง ให้กราบทำความเคารพ จนกว่าคุณครูทุกท่านจะผ่านไปหมดทุกคน
ให้ประธานจุดธูปเทียน นมัสการพระพุทธรูปที่แท่นหมู่บูชา
เริ่มพิธีโดยการสวดมนต์ ตามด้วยเจิมหนังสือเพื่อความเป็นสิริมงคล
หลังจากนั้นกล่าวคาถาไหว้ครู และวรรคแรกของคำไหว้ครู
เมื่อกล่าวคำไหว้ครูเสร็จแล้ว ให้ว่าคาถาไหว้ครูตอนท้าย
ตัวแทนนักเรียนกล่าวคำปฏิญาณตน
ให้ตัวแทนของแต่ละห้องนำพานไปให้คุณครูแต่ละท่าน
วันครู
สำหรับในวันครู (วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี) เป็นวันที่มีการจัดพิธีไหว้ครูอีกอย่างหนึ่ง ผู้ร่วมงานคือบรรดาครูบาอาจารย์ที่สอนนักเรียนในปัจจุบัน มาร่วมไหว้ครูเพื่อรำลึกถึงบูรพาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการให้ และมีการท่องบทไหว้ครูเป็นภาษาบาลี อาจมีครูอาวุโส เป็นประธานในงานด้วย



ความหมายของดอกไม้ไหว้ครู

ดอกมะเขือ เป็นดอกที่โน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือนี้ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่างๆ นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับหญ้าแพรก


หญ้าแพรก เป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม แพร่กระจายพันธ์ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก หญ้าแพรกดอกมะเขือจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่ คนโบราณจึงถือเอาเป็นเคล็ดว่า ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขือไหว้ครูแล้ว สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรกและ ดอกมะเขือนั่นเอง


ดอกเข็ม เพราะดอกเข็มนั้นมีปลายแหลม สติปัญญาจะได้แหลมคมเหมือนดอกเข็ม และก็อาจเป็นได้ว่า เกสรดอกเข็มมีรสหวาน การใช้ดอกเข็มไหว้ครู วิชาความรู้จะให้ประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสดชื่นเหมือนรสหวานของดอกเข็ม


ข้าวตอก เป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้วคนเรามักจะมีความซุกซน ความเกียจคร้าน เป็นสมบัติมากบ้าง น้อยบ้างก็ตาม ตาเมื่อเขามีความต้องการศึกษาหาความรู้ เขาก็ต้องรู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบ ในระเบียบหรือในกฎเกณฑ์ที่สถาบันได้กำหนดไว้ ใครก็ตามหากตามใจตนเอง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บุคคลนั้นก็จะเป็นเหมือนข้าวเปลือกที่ถูกคั่ว แต่ไม่มี โอกาสได้เป็นข้าวตอก

มีบทสวดเคารพครูอาจารย์ มีให้น้องๆท่องกันนะ

บทสวดเคารพครูอาจารย์

(สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ

(สวดทำนองสรภัญญะ)
(สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์
โอบเอื้อและเจือจุน อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอรรถให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม
ขจัดเขลาบรรเทาโม หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม (กราบ)

บทสวดเคารพครูอาจารย์อีกแบบหนึ่ง

สวดนำ (เดี่ยว)
ปาเจรา จริยา โหนติ คุณุตตรา นุสาสกา
สวดทำนองสรภัญญะ (พร้อมกัน)
ข้าขอประณตน้อมสักการ บูรพคณาจารย์
ผู้กอรปเกิดประโยชน์ศึกษา ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา
อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์
ด้วยใจนิยมบูชา ขอเดชกตเวทิตา
อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน
อยู่ในศีลธรรมอันดี ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี
ประโยชน์ทวี แก่ข้าและประเทศไทย เทอญ
สวดสรุป (เดี่ยว)
ปัญญา วุฑฒิ กเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหํ

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สมอคุณประโยชน์ทางยาและรักษาโรคร้อน/น้องมิ้งข่าวผู้เยาว์




--------------------------------------------------------------------------------
กิน ‘สมอ’ ดีเสมอ

ผลสมอหรือลูกสมอ เคยเป็นผลไม้ที่เด็กๆ ในครั้งอดีตชอบรับประทาน โดยเฉพาะสมอแช่อิ่มที่มีรสชาติหวานหอม เด็กๆ จะอมเหมือนอมท็อฟฟี่ อมจนความหวานเจือจางแล้วจึงค่อยเคี้ยวเนื้อที่สุดแสนจะอร่อย แต่น่าเสียดายที่เด็กสมัยนี้ไม่ค่อยรู้จักสมอ หรือมีโอกาสได้ลองลิ้มชิมรสสมอ

ต้นสมอ เป็นต้นไม้หลายชนิดในสกุล Terminalia วงศ์ Combretaceae เช่น สมอไทย, สมอพิเภก, สมอดีงู, สมอจีน เป็นต้น มีชื่อเรียกทางภาษาบาลีว่า ‘หรีตกะ’

ลักษณะโดยรวมของสมอ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แผ่กว้าง เปลือกหนา ลำต้นขรุขระ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ดอกคล้ายหางกระรอกออกเป็นช่อเดี่ยวๆ บนกิ่งหรือตามซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม

ส่วนผลของสมอนั้นแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน เช่น สมอไทยมีผลรูปป้อมๆ ผิวเกลี้ยงไม่มีขน เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมเหลือง ผลแห้งสีดำ ผลของสมอพิเภกค่อนข้างกลม ผิวมีขนนุ่มสีน้ำตาล หรือน้ำตาลแกมเหลืองปกคลุมอยู่ทั้งผล มีสันตามยาว ๕ สัน ส่วนสมอดีงู หรือสมอหมึกมีผลค่อนข้างยาว หัวและท้ายแหลมคล้ายผลสมอของจีน ต้นสมอจะทิ้งใบในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม และใบอ่อนจะขึ้นมาใหม่พร้อมกับตาดอกในระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน

ประโยชน์ของสมอมีมากมาย อาทิเช่น เปลือกและผลดิบมีสารฝาด จึงใช้ในการย้อมแห อวน หรือย้อมผ้าให้เป็นสีเขียวขี้ม้า เนื้อไม้ใช้สร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ทำเกวียน เป็นต้น

ส่วนสรรพคุณด้านสมุนไพรนั้นก็มีมากมาย คือ ดอก ช่วยแก้โรคตา แดง ตาอักเสบ, เปลือกต้น ช่วยบำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ, ผลอ่อนหรือผลดิบ ใช้เป็นยาระบาย ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้บิด แก้ไข้ แก้โลหิตเป็นพิษ แก้โรคตา แก้ธาตุกำเริบ บำรุงธาตุ และแก้ริดสีดวง, ผลสุก ใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดิน ช่วยเจริญอาหาร แก้ลมจุกเสียด แก้เจ็บคอ และขับน้ำเหลืองเสีย

ด้วยสรรพคุณทางยาเหล่านี้ของสมอ ในพระไตรปิฎกจึงได้บอกไว้ว่า ครั้งพุทธกาล มีภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผอมเหลือง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดองน้ำมูตรโค”

และในพระไตรปิฎก ก็ได้เล่าถึงอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งเสวยพระชาติเป็นพระหรีตกิทายกเถระ ซึ่งท่านได้กล่าวถึงผลแห่งการถวายลูกสมอไว้ใน ‘หรีตกิทายกเถราปทานที่ 8’ ว่า

ท่านได้นำผลสมอถวายแด่พระสยัมภูพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง) ทำให้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงบรรเทาพยาธิทั้งปวง พระสยัมภูพุทธเจ้าได้ทรงทำอนุโมทนาว่า ด้วยการถวายเภสัชอันเป็นเครื่องระงับพยาธินี้ ท่านเกิดเป็นเทวดา เป็นมนุษย์ หรือจะเกิดในชาติอื่น จงเป็นผู้ถึงความสุขในที่ทุกแห่ง และท่านอย่าถึงความป่วยไข้ ฉะนั้น เพราะการถวายสมอนี่เอง ความป่วยไข้จึงมิได้เกิดแก่ท่านเลย นี้เป็นผลแห่งเภสัชทาน

ส่วนในตำนานได้เล่าไว้ว่า ขณะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับเสวยวิมุตติผลสุขสมบัติอยู่ใต้ต้นไม้ พระอินทร์ทรงเห็นว่า พระพุทธองค์ควรเสวยพระกระยาหาร จึงได้นำผลสมอทิพย์มาถวาย

เชื่อหรือยังว่า ‘กินสมอ ดีเสมอ’ จริงๆ

ดอกพุทธรักษา/ดอกไม้ประจำวันพ่อ / มิ้ง ข่าวผู้นำเสนอ



พุทธรักษา ดอกงาม นามมงคล
เพื่อให้เข้าบรรยากาศของเดือนธันวาคม ‘วันพ่อแห่งชาติ’ จึงขอนำเรื่อง ‘พุทธรักษา’ ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์วันพ่อแห่งชาติ มานำเสนอ แต่ก่อนอื่นคงต้องย้อนประวัติวันพ่อแห่งชาติกันสักนิดเพื่อเป็นความรู้
‘วันพ่อแห่งชาติ’ กำหนดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๓ โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม ด้วยหลักการและเหตุผลคือ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ
จึงถือเอา วันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็น ‘วันพ่อแห่งชาติ’ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น ‘พ่อ’ ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณาและความห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้
ในขณะที่คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติก็ได้กำหนดให้ ‘ดอกพุทธรักษา’ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีนามอันเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์วันพ่อแห่งชาติ และมักจะใช้ดอกพุทธรักษาสีเหลือง อันเป็นสีประจำวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และเป็นสีแห่งธรรมด้วย
‘พุทธรักษา’ หมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครองให้มีแต่ความสงบสุขและร่มเย็น ประดุจดังพ่อผู้ปกป้องคุ้มครองและสร้างความสุขความร่มเย็นให้กับครอบครัว
ในพุทธประวัติได้กล่าวถึง ครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จทรงเยี่ยมพุทธบิดาที่ทรงประชวรด้วยพระโรคชรา ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบิดาด้วยเรื่องความเป็นอนิจจังของสังขาร หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะซึ่งทรงสำเร็จอนาคามีผลอยู่ก่อนแล้ว ได้สดับพระธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ต้นพุทธรักษามีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะอินเดียตะวันตก และแถบอเมริกาใต้ จัดอยู่ในวงศ์ CANNACEAE ซึ่งมีร่วมร้อยชนิด และมีชื่อเรียกอื่นๆ ในบ้านเรา เช่น พุทธศร, บัวละวงศ์ เป็นต้น พุทธรักษาเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ใบสีเขียวรูปหอกหรือใบพาย ยาวประมาณ 30-40 ซม. กว้างประมาณ 10-15 ซม.
ดอกออกเป็นช่อตรงยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-25 ซม. ดอกมีขนาดใหญ่และมีสีสันสวยงามหลากสี เช่น แดง เหลือง ส้ม ชมพู เป็นต้น และจะออกดอกตลอดปี ผลมีลักษณะกลม ผิวขรุขระ ภายในมีเมล็ดแข็งกลม สีดำ ซึ่งคนอินโดนีเซียเรียกพุทธรักษาว่า Bunga tasbih มาจากภาษาอาหรับ หมายถึง ลูกประคำที่ใช้ในเวลาสวดมนต์ เนื่องจากเมล็ดแข็งนำมาทำลูกประคำได้นั่นเอง
ต้นพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นง่าย ชอบแสงแดด เจริญเติบโตด้วยการแตกหน่อเป็นกอๆ คล้ายกล้วย ดังนั้น การขยายพันธุ์จึงทำได้ทั้งการเพาะเมล็ดหรือแยกหน่อปลูก
ความที่พุทธรักษาเติบโตขยายพันธุ์ง่าย และมีสีสันหลากหลายสวยงาม จึงนิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับตามถนนหนทางและบ้านเรือน นอกจากพุทธรักษาจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับแล้ว ยังมีสรรพคุณด้านพืชสมุนไพรด้วย เช่น เหง้า ซึ่งมีรสฝาดเย็น ใช้แก้วัณโรค โรคตับอักเสบ ตัวเหลือง แก้ประจำเดือนไม่ปกติ บิดเรื้อรัง แผลอักเสบบวม สมานแผล แก้ไอเป็นเลือด และบำรุงปอด ส่วนดอกสด นำมาตำใช้พอกแผลสด แผลมีหนอง ห้ามเลือด และเมล็ด ก็นำมาบดหรือตำให้ละเอียดใช้พอกแก้ปวดศีรษะ
วันพ่อปีนี้ปลูกพุทธรักษาให้เต็มหน้าบ้านเลยดีไหม

พระสังฆราช” ประทานพระโอวาทวิสาขบูชา/53 มิ้งข่าวผู้เยาว์


พระสังฆราช” ประทานพระโอวาทวิสาขบูชา

เนื่องในวันวิสาขบูชา ปี 2553 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ประทานพระโอวาทในความว่า วันวิสาขบูชาเป็นวันที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พระองค์ทรงเป็นพระบรมศาสดาผู้ทรงเปี่ยมด้วยคุณอันประเสริฐ 3 ประการ คือ
พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ต่อทวยเทพ มวลมนุษย์และสรรพสัตว์ เนื่องด้วยพระพุทธศาสนามีคุณูปการอันใหญ่หลวง ซึ่งอำนวยประโยชน์เกื้อกูลความเจริญรุ่งเรือง และความสงบร่มเย็นแก่อารยชนมาตลอดระยะเวลากว่า 2,500 ปี
ฉะนั้น เมื่อวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2553 มาถึง ควรที่เราทั้งหลายจะได้ทำการบูชาและน้อมรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระธรรมและพระอริยสงฆ์ เพื่อน้อมนำมาเป็นที่พึ่งของตน เป็นแนวทางในการปฏิบัติดำเนินชีวิต เพื่อความสวัสดีและความสงบร่มเย็นสืบไป ขออำนวยพร

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คำขวัญวันเด็กของนายกคนเก่ง


<คำขวัญวันเด็กปี2553 ของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีนี้ปี 2553 มีใจความว่ายังไงมาดูกันค่ะ ซึ่งนายกให้ใจความของคำขวัญไว้ดังนี้

” คิดสร้างสรรค์ ขยันไฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม “

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติไทหล่ม หรือ ไทลม


ภาษาเว้าพื้นเมืองไทหล่ม

“เมืองหล่ม” หรือ อำเภอหล่มเก่าและอำเภอหล่มสัก ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นบริเวณราบลุ่มที่มีเทือกเขาล้อมขนาบทั้งสามด้าน ได้แก่ด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร
ชื่อเมืองหล่มแต่เดิมนั้น เรียกว่า “เมืองลุ่ม” คำว่า “ลุ่ม” ถ้าออกเสียงตามสำเนียงพื้นถิ่นจะต้องออกเสียงว่า “ลุ๊ม” ในภาษาพื้นเมืองหล่มสักและภาษาพื้นเมืองภาคเหนือรวมถึงประเทศลาว หมายถึง “ข้างล่าง” เช่นมีคำที่ชาวหล่มสักใช้เรียกบริเวณใต้ถุนเรือนว่า “ใต้ลุ๊มใต้ล่าง” ในภาษาเหนือเรียก “ใต้ลุ่ม” ซึ่งก็หมายถึง “ข้างล่าง” นั่นเอง แต่ถ้าแปลความหมายตามภาษาไทยกลางก็ หมายถึง บริเวณที่ลุ่มต่ำมีลักษณะเป็นแอ่ง หรือบริเวณที่ราบลุ่มซึ่งก็ตรงกับลักษณะของพื้นที่ตั้งของอำเภอหล่มสักและหล่มเก่าเพราะตั้งอยู่ระหว่างอ้อมกอดของภูเขามีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ชื่อของเมืองลุ่มมีปรากฏอยู่ในตำนานหรือนิทานหลายเรื่อง เช่น เรื่อง ท้าวคัชนามหรือท้าวคันธนามซึ่งได้กล่าวพ่วงท้ายก่อนจะจบเรื่องด้วยบางสำนวนเล่าว่า “ ท้านคัชเนก และ ท้าวคัชจันทร์ ซึ่งเป็นบุตรของท้าวคัชนามเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์มาก ทั้งสองวิวาทกันทำศึกจนสะเทือนไป ทั้งโลกและจักรวาล เดือดร้อนไปถึงหมู่เทพเทวา เทวดาทั้งหลายจึงไปเฝ้าพญาแถนให้มาห้ามทัพ พญาแถนเล็งเห็นว่าท้าวคัชเนกนั้นสิ้นบุญมีชะตาขาดแล้ว จึงได้บันดาลลมมีดแถ(มีดโกน) ไปยังกองทัพของทั้งสองพี่น้อง และลมมีดแถนั้นก็ฟันถูกท้าวคัชเนกสิ้นชีวิตตกลงบนแผ่นดิน ร่างท้าวคัชเนกกลายเป็นภูเขาชื่อว่า “ภูจอมสี” เป็นภูเขาอยู่กลางเมืองหลวงพระบาง ศีรษะตกลงดินกลายเป็นพญานาค เลือดตกลงมาเป็นก้อนสีแดง เรียกว่า “ภูครั่ง” ร่างอีกส่วนหนึ่งตกลงมากระทบแผ่นดินเป็นหลุมใหญ่ในหุบเขา ภายหลังกลายเป็นเมืองเรียกว่า “เมืองลุ่ม” ซึ่งก็ได้แก่เมืองหล่มเก่าและเมืองหล่มสักในปัจจุบัน เรื่องเล่าดังกล่าวถึงแม้จะเป็นเพียงแค่ตำนานแต่ก็ได้ให้ความหมายลึกซึ้งในเงื่อนไขของความเชื่อและนำเสนอให้เราเห็นว่า “เมืองลุ่มหรือเมืองหล่มนั้นก็มีความสัมพันธ์ในทางเชื้อชาติประวัติศาสตร์ร่วมกับผู้คนในดินแดนแคว้นถิ่นล้านช้างหลวงพระบางและเวียงจันทร์ด้วยกันนั่นเอง”

ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของเมืองหล่มนั้น คนหล่มเองก็ไม่เข้าใจแจ่มแจ้งมากนักเพราะพัฒนาการของเมืองหล่มนั้นเกิดขึ้นจากชุมชนเล็ก ๆ ระดับหมู่บ้านแล้วเจริญขึ้นเป็นเมืองตามครรลองของสังคม เมืองหล่มไม่ใช่เมืองสำคัญที่รัฐจะต้องทุ่มเทสัพพะกำลังในการก่อตั้งเมืองเหมือนเมืองสำคัญอื่น ๆ เช่นเมืองเพชรบูรณ์ ที่มีลักษณะเป็นเมืองที่มีคูน้ำและกำแพงเมืองชัดเจน จะสังเกตได้ว่าในบริเวณเมืองหล่มทั้งหล่มเก่าและหล่มสักนั้น ไม่ปรากฏมีร่องรอยของคูน้ำคันดิน หรือซากกำแพงเมืองให้เห็นอยู่เลย นอกจากบริเวณเมืองเก่านครเดิดบ้านดงเมือง อำเภอหล่มสักซึ่งเมืองดังกล่าวนี้ก็เหลือเพียงเศษซากกำแพงเมืองและคันดินให้เห็นพอเลือนรางแต่ก็เป็นโบราณสถานที่อยู่ภายนอกเมืองหล่มและเยื้องไปทางเมืองเพชรบูรณ์ และโบราณสถานบ้านดงเมืองนี้อาจจะมีอายุเก่าแก่กว่าพัฒนาการของเมืองหล่มก็เป็นได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเมืองหล่มไม่ใช่เมืองสำคัญมาแต่สมัยโบราณ แต่เป็นเพราะการได้เปรียบทางด้านสภาพภูมิประเทศมากกว่าที่เมืองหล่มได้ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดี จึงไม่ปรากฏว่าเมืองหล่มจะถูกคุกคามทางด้านสงครามเลยแม้แต่น้อย ถ้าหากจะกล่าวว่าเมืองหล่มเป็นเมืองของชาวบ้านก็คงจะไม่เสียหาย เพราะเป็นเมืองระดับชาวบ้านจริง ๆ และก็เป็นอย่างนี้มาช้านานจนถึงปัจจุบัน เพราะการปกครองถึงจะมีระบบเจ้าขุนมูลนายเข้ามาในสมัยหลังอยู่บ้าง แต่ดั้งเดิมนั้นชาวหล่มก็ปกครองกันเองโดยใช้ระบบฮีตสิบสองครองสิบสี่ตามแบบอย่างที่ได้มาจากเวียงจันทร์ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าเมืองหล่มนั้นผูกขาดอยู่ภายใต้อำนาจของเวียงจันทร์หรืออยุธยากันแน่เพราะเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างชายแดน และการอพยพเคลื่อนย้ายของกลุ่มชนจากดินแดนล้านช้างเข้าสู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักตอนบนคือบริเวณเมืองหล่มเก่าหล่มสักเป็นเหตุให้ทั้งสองอาณาจักรได้ตกลงแบ่งปันเขตแดนโดยมีพระธาตุศรีสองรักเป็นหลักบอกเขตดังที่เห็นจนปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าชาวเมืองหล่มจะต้องเลือกผู้นำขึ้นมาเองโดยการตัดสินใจของกลุ่มชน หรืออาจจะเลือกผู้นำที่สืบเชื้อสายมาจากผู้นำคนเดิมที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นก่อนที่จะอพยพโยกย้ายถิ่นจากถิ่นเดิมคือดินแดนล้านช้าง เข้าสู่ดินแดนลุ่มแม่น้ำป่าสัก ซึ่งผู้นำหรือผู้ปกครองเมืองหล่มนั้นมีชื่อเรียกว่า “อุปฮาด” ซึ่งต่อมาภายหลังนิยมเรียกว่า“ปู่เฒ่า” “เจ้าปู่”ซึ่งตำแหน่งอุปฮาดนั้นก็ตรงกับตำแหน่งเจ้าเมืองในการปกครองระบอบอาชญาสี่ ของเวียงจันทร์ และหลวงพระบาง ซึ่งอยู่ในความทรงจำของประชาชนที่ยังคงมีความศรัทธาอยู่ในระบบจารีตประเพณีดั้งเดิมตามบรรพบุรุษผู้ที่เคยอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรล้านช้างนั่นเอง ตำแหน่งทางการปกครองดังกล่าวนี้ยังมีชื่อปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับผีบรรพบุรุษของชาวเมืองหล่ม ซึ่งในเทศกาลงานบุญประเพณีบุญบั้งไฟจะมีการอัญเชิญดวงวิญญาณที่มีชื่อปรากฏเกี่ยวข้องกับระบบการปกครองแบบอาชญาสี่ ได้แก่ “เจ้าปู่” “มเหศักดิ์” “หลวงศรี” “ศรีหวงษ์” “แสน” “ท้าว” “นาง” ซึ่งชื่อที่ปรากฏดังกล่าวเกี่ยวข้องกับชื่อของ เทวดา ชื่อตำแหน่ง และคำนำหน้าเรียกบุคคลสำคัญต่าง ๆ ในสมัยโบราณโดยเฉพาะกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลลาว

ร่วมสมัยกับการสร้างพระธาตุศรีสองรัก ในบริเวณอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย “จากการสำรวจของนักโบราณคดีเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมลาวล้านช้างในภาคกลางกล่าวว่าพระธาตุเจดีย์วัดโพนชัย ต.บ้านหวาย มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมร่วมสมัยเดียวกันกับเจดีย์ศรีสองรัก” กล่าวคือ ประมาณปี พ.ศ.๒๐๙๐ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์แห่งกรุงศรีอยุธยา และสมเด็จพระเจ้าชัยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตตนาคนหุต ล้านช้าง ได้กระทำสัจจไมตรีต่อกันคือได้ร่วมกันก่อสร้างพระธาตุศรีสองรัก ไว้เป็นพยานว่าจะไม่รุกรานฆ่าฟันกันทำสัญญาว่าจะเป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน อาจจะเป็นไปได้ว่าพระเจ้าชัยเชษฐามีเชื้อสายมาจากทางราชวงศ์ล้านนาเชียงใหม่และในสมัยเดียวกันนั้นทั้งสองนครก็ถูกทัพพม่ามาตีอยู่เนืองนิต ฉะนั้นทั้งสองนครจึงทำไมตรีต่อกันเพื่อช่วยเหลือกันทำสงคราม และพระธาตุศรีสองรักก็เปรียบเสมือนเสาหลักปักแดนระหว่างสองพระนคร ด้วยเหตุนี้ประชาชนชาวล้านช้างก็อพยพมาจากนครหลวงพระบางลงมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินในแถบเมืองหล่มสัก เดิมเรียกเมืองลุ่ม สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าพวกราษฎรชาวศรีสัตนาคนหุตได้มาพำนักอยู่ก่อนแล้ว ก่อสร้างเจดียสถานไว้สำหรับเพื่อนบ้าน เหตุที่พากันมาอยู่สร้างเมืองลุ่มนี้ ก็เพราะหนีภัยต่าง ๆ เมื่อมีจำนวนคนเพิ่มขึ้นก็เกิดเป็นบ้านเมือง ในที่สุดเกิดมีผู้ปกครองแต่ไม่ได้เรียกว่าเจ้าเมือง ใช้คำพื้นเมืองเรียกว่า “อุปฮาด” ตามภาษาพื้นเมืองที่ใช้กันเป็นชื่อตำแหน่งเจ้าเมืองของชาวศรีสัตนาคนหุต(ล้านช้าง)

ยุคสร้างบ้านแปงเมือง เดิม เมืองลุ่มนั้นเป็นเมือง เล็ก ๆ ไม่ค่อยที่จะมีผู้คนรู้จักสักเท่าใดสาเหตุที่เรียกชื่อเมืองว่า เมืองลุ่มก็คือ มีผู้คนอาศัยอยู่ในที่ราบลุ่ม หรืออีกสาเหตุหนึ่ง คำว่าลุ่มในภาษาพื้นเมืองหล่ม ออกเสียงว่า ลุ๊ม หมายความว่า ข้างล่าง ดังที่ชาวเมืองหลวงพระบางเรียกพวกตนว่า ลาวลุ๊ม หมายถึง เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ข้างล่างหรือบนพื้นราบนั่นเอง เพื่อให้แตกต่างไปจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนที่สูง ก็คือ ชนเผ่าลั๊ว ข่า ม้ง ฯลฯ ที่ถูกเรียกว่าเป็น ลาวเทิง และลาวสูง คล้ายกับชาวภาคเหนือของไทยที่เรียกพวกตนว่า “คนเมือง” นั่นเอง คำว่าเมืองหล่มสักพึ่งจะมาปรากฏในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ คือ ในสมัยที่ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เจ้าอนุวงศ์ได้ส่งทัพเจ้าราชวงศ์มายึดเอาเมืองลุ่ม อุปฮาดหรือเจ้าเมืองลุ่มมีกำลังน้อย จึงต้องยอมสวามิภักดิ์ต่อเจ้าราชวงศ์ เมื่อกองทัพของพระยาอภัยภูธรกับพระยาพิชัยไปถึงเมืองลุ่ม นายคงผู้เป็นชาวพื้นเมืองลุ่ม(หล่มเก่า) อาสานำทัพของพระยาอภับภูธรกับพระยาพิชัย ขึ้นไปถึงเมืองหนองบัวลำภู แต่ก็มิได้ทำศึกเพราะทัพของเจ้าพระยาบดินทร์เดชาปราบเรียบร้อยแล้ว ทัพไทยจับอุปฮาดเจ้าเมืองลุ่มได้จึงสำเร็จโทษ เมื่อเสร็จสิ้นศึก นายคงชาวพื้นเมืองลุ่มจึงมีความดีความชอบจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระสุริยวงศาชนะสงครามรามภักดีวิริยะกรมพาหะ เป็นผู้สร้างเมืองหล่มใหม่ขึ้นบริเวณบ้านท่ากกโพธิ์และเป็นเจ้าเมืองหล่มสักท่านแรก เดิมเรียกเมืองหล่มใหม่หรือเมืองหล่มศักดิ์ ต่อจากนั้นมา ในช่วงปรับการปกครองในระบอบเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมืองหล่มสักก็ได้รับการยกขึ้นเป็นจังหวัดและขึ้นอยู่กับมณฑลอุดร และมณฑลพิษณุโลกต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๗ เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดหล่มสักจึงได้ถูกโอนย้ายมาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์
เมืองหล่มสักนั้นเป็นเมือง พิเศษคือมิได้เป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้น แต่หากเป็นเมืองที่ประชาชนชาวเมืองได้ร่วมกันก่อตั้ง เริ่มพัฒนาการจากจุดเล็ก ๆ จนกลายเป็นเมืองใหญ่ในระดับหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะสภาพภูมิประเทศอันอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และการทำมาหากินของชาวบ้าน และตลอดจนการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจึงทำให้เกิดเศรษฐกิจภายในชุมชนขึ้น ซึ่งอาจจะสังเกตได้ว่าเมืองหล่มสักมีพัฒนาการค่อนข้างเรียบง่าย ผิดแปลกไปจากเมืองสำคัญ ๆ อื่น ๆ ที่เป็นเมืองที่ได้รับการสนับสนุนเร่งรัดจากสังคมรัฐและสังคมการปกครองชั้นสูงมากกว่าสังคมชาวบ้าน ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นเหตุให้เกิดการศึกษาและวิจัยในเรื่องของความเป็นมาและพัฒนาการของเมืองหล่มสัก ดังที่กล่าวมาแล้วว่า เป็นเมืองที่มีประวัติและวิวัฒนาการมายาวนานหลายยุคหลายสมัยที่ศึกษาได้จากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ยังคงเหลือน้อยเต็มทีและจากตำนานท้องถิ่น
ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสภาพปัจจุบันของเมืองหล่มสัก
ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสภาพปัจจุบันของเมืองหล่มสัก
ที่ตั้ง อำเภอหล่มสักตั้งอยู่ในเขตเทศบาลหล่มสัก ถนนวจี ประมาณละติจูดที่ 16 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 101 องศาตะนออกความกวางวัดจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ ยาวประมาณ 45 กิโลเมตร วามยาววัดจากทิศตะออกไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 49-8 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 1,535,348 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอหล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ อำเภอนครไทย จ.พิษณุโลก
ทิศใต้ ติดกับ อำเภอเมือง จ.เพชรบูรณ์
ทิศตะวันออกติดกับ อำเภอน้ำหนาว ,อำเภอหล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ อำเภอคอนสาร จ.ชัยภูมิ
ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ อำเภอวังทอง จ.พิษณุโลก
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปของอำเภอหล่มสักเป็นป่าไม้และภูเขา มีเทือกเขาสูงล้อมรอบ ลักษณะเหมือนแอ่งกะทะมีภูเขา 3 ด้าน คือ
-ด้านทิศเหนือ ในเขตบางส่วนของพื้นที่ ตำบลท่าอิบุญ
-ด้านทิศตะวันออก ในเขตบางส่วนของพื้นที่ ตำบลห้วยไร่,
ตำบลบ้านติ้ว, ตำบลปากช่อง, ตำบลบ้านกลาง, และตำบลช้างตะลูด
-ด้านทิศตะวันตก ในเขตส่วนของพื้นที่ ตำบลน้ำก้อ, ตำบลน้ำชุน,
ตำบลบุ่งน้ำเต้า, และตำบลบุ่งคล้า
ลักษณะภูมิอากาศ
อำเภอหล่มสัก แบ่งสภาพภูมิอากาศ ออกเป็น 3 ฤดู คือ
1. ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดที่เคยวัดได้ 39.5 องศา
2. ฤดูฝน ระหว่าง เดือน มิถุนายน - กันยายน ฝนตกมากใน เดือน
3. พฤษภาคม - กันยายน ปริมาณน้ำฝนเป็นรายปีของอำเภอปริมาณเฉลี่ยในรอบ 5 ปี (2527 – 2531) 9,46.9 มิลลิเมตร
4. ฤดูหนาว ระหว่างเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 23.11 องศา
สาขาของแม่น้ำป่าสัก มีดังนี้
- ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำป่าสัก คือ ห้วยน้ำพุง ห้วยน้ำขุนใหญ่ ห้วยลาน ห้วยคณฑา ห้วยน้ำก้อ
- ทางด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก คือ ห้วยขอนแก่น ห้วยน้ำคำ ห้วยบง ห้วยแสนงา และคลองน้ำเดื่อ
แม่น้ำป่าสักเป็นเสมือนเส้นโลหิตที่หล่อเลี้ยงพลเมืองของชาวหล่มสัก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำในแม่น้ำป่าสักและสาขาส่งไปยังเทือกสวนไร่นา ซึ่งในอดีตนั้นแม่น้ำป่าสักมีความอุดมสมบูรณ์มาก มีน้ำพอใช้เพื่อการเกษตรตลอดปี แต่ในสภาพปัจจุบันแม่น้ำป่าสักมีสภาพตื้นเขิน ช่วงฤดูฝนจะมีน้ำมาก ส่วนฤดูแล้งน้ำจะแห้งขอดเป็นตอน ๆ ไม่เพียงพอแก่การเพาะปลูก ดังนั้นจึงต้องสร้างอ่างเก็บน้ำตามขนาดที่ต้องการถ้าเป็นน้ำใช้ก็จะมีการขุดเจาะน้ำบาดาล หรือบ่อน้ำ สระน้ำ ฝาย
นอกจากนี้บางท้องที่ก็ต้องอาศัยแหล่งน้ำผิวดิน ซึ่งมีในท้องที่ต่าง ๆ อาทิ
หนองขาม ในเขต ต.บ้านติ้ว
หนองผือ ในเขต ต.บ้านติ้ว
หนองอ้อ ในเขต ต.บ้านติ้ว
หนองแค ในเขต ต.สักหลง
ฝายศรีจันทร์ ในเขต ต.ท่าอิบุญ
เขื่อนห้วยขอนแก่น ในเขต ต.ห้วยไร่
เบิ่งเมืองหล่ม(สถานที่ท่องเที่ยว)
1. อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ตั้งอยู่ที่แยกพ่อขุนผาเมือง ตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก
2. สะพานพ่อขุนผาเมืองหรือสะพานห้วยตอง เป็นสะพานที่สูงที่สุดของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางสายชุมแพ – หล่มสัก
3. จุดชมวิว เป็นสถานที่ชมทิวทัศน์ที่สวยงามมากตั้งอยู่บนเส้นทางสายหล่มสัก – ชุมแพ สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 803 เมตร
4. น้ำตกธารทิพย์ ตั้งอยู่ที่บ้านธารทิพย์ หมู่ที่ 2 ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก อยู่ห่างจากถนนสายสระบุรี – หล่มสักประมาณ 5 กิโลเมตร น้ำตกมีความสูง 20 เมตรมีน้ำตลอดปี น้ำตกมี 2 ชั้น ชั้นล่างมีแอ่งน้ำอาบได้ สวยงามมาก
5. น้ำตกตาดฟ้า อยู่ในตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก ห่างจากถนนสายใหญ่สระบุรี – หล่มสัก ประมาณ 4 กิโลเมตร เส้นทางยังไม่สะดวกเป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผาสูงประมาณ 20 เมตร
6. ถ้ำฤษีสมบัติ หรือ ถ้ำสมบัติ เป็นถ้าสวยงาม ภายในถ้ำจะมีความเย็นชื้น มีพระพุทธรูปอยู่ปากทางเข้า ทางซ้ายมือเป็นแท่นพระพุทธรูปบูชา เมื่อเดินเข้าสู่ภายในถ้ำมาก ๆ จะมีทางแยกหลายทาง มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ปัจจุบันตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก อยู่ห่างจากตัวอำเภอหล่มสักประมาณ 20 กิโลเมตร เคยเป็นสถานที่สำคัญในสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม คือสมัยนั้นถ้ำนี้เป็นพื้นที่ตั้งของกระทรวงการคลังและเป็นที่เก็บสมบัติของชาติ

ประวัติเมืองลุ่มหรือเมืองหล่มสักนั้น พอที่จะสันนิษฐานได้ดังต่อไปนี้

ร่วมสมัยกับการสร้างพระธาตุศรีสองรัก ในบริเวณอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย “จากการสำรวจของนักประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมลาวล้านช้างในภาคกลางกล่าวว่าพระธาตุเจดีย์วัดโพนชัย ต.บ้านหวาย มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมร่วมสมัยเดียวกัน” กล่าวคือ ประมาณปี พ.ศ.๒๐๙๐ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์แห่งกรุงศรีอยุธยา และสมเด็จพระเจ้าชัยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตตนาคนหุต ล้านช้าง ได้กระทำสัจจไมตรีต่อกันคือได้ร่วมกันก่อสร้างพระธาตุศรีสองรัก ไว้เป็นพยานว่าจะไม่รุกรานฆ่าฟันกันทำสัญญาว่าจะเป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน อาจจะเป็นไปได้ว่าพระเจ้าชัยเชษฐามีเชื้อสายมาจากทางราชวงศ์ล้านนาเชียงใหม่และในสมัยเดียวกันนั้นทั้งสองนครก็ถูกทัพพม่ามาตีอยู่เนืองนิต ฉะนั้นทั้งสองนครจึงทำไมตรีต่อกันเพื่อช่วยเหลือกันทำสงคราม และพระธาตุศรีสองรักก็เปรียบเสมือนเสาหลักปักแดนระหว่างสองพระนคร ด้วยเหตุนี้ประชาชนชาวล้านช้างก็อพยพมาจากนครหลวงพระบางลงมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินในแถบเมืองหล่มสัก เดิมเรียกเมืองลุ่ม สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าพวกราษฎรชาวศรีสัตนาคนหุตได้มาพำนักอยู่ก่อนแล้ว ก่อสร้างเจดียสถานไว้สำหรับเพื่อนบ้าน เหตุที่พากันมาอยู่สร้างเมืองลุ่มนี้ ก็เพราะหนีภัยต่าง ๆ เมื่อมีจำนวนคนเพิ่มขึ้นก็เกิดเป็นบ้านเมือง ในที่สุดเกิดมีผู้ปกครองแต่ไม่ได้เรียกว่าเจ้าเมือง ใช้คำพื้นเมืองเรียกว่า “อุปฮาด” ตามภาษาพื้นเมืองที่ใช้กันเป็นชื่อตำแหน่งเจ้าเมืองของชาวศรีสัตนาคนหุต(ล้านช้าง)
ยุคสร้างบ้านแปงเมือง เดิม เมืองลุ่มนั้นเป็นเมือง เล็ก ๆ ไม่ค่อยที่จะมีผู้คนรู้จักสักเท่าใดสาเหตุที่เรียกชื่อเมืองว่า เมืองลุ่มก็คือ มีผู้คนอาศัยอยู่ในที่ราบลุ่ม หรืออีกสาเหตุหนึ่ง คำว่าลุ่มในภาษาพื้นเมืองหล่ม ออกเสียงว่า ลุ๊ม หมายความว่า ข้างล่าง ดังที่ชาวเมืองหลวงพระบางเรียกพวกตนว่า ลาวลุ๊ม หมายถึง เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ข้างล่างหรือบนพื้นราบนั่นเอง เพื่อให้แตกต่างไปจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนที่สูง ก็คือ ชนเผ่าลั๊ว ข่า ม้ง ฯลฯ ที่ถูกเรียกว่าเป็น ลาวเทิง และลาวสูง คล้ายกับชาวภาคเหนือของไทยที่เรียกพวกตนว่า “คนเมือง” นั่นเอง คำว่าเมืองหล่มสักพึ่งจะมาปรากฏในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ คือ ในสมัยที่ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เจ้าอนุวงศ์ได้ส่งทัพเจ้าราชวงศ์มายึดเอาเมืองลุ่ม อุปฮาดหรือเจ้าเมืองลุ่มมีกำลังน้อย จึงต้องยอมสวามิภักดิ์ต่อเจ้าราชวงศ์ เมื่อกองทัพของพระยาอภัยภูธรกับพระยาพิชัยไปถึงเมืองลุ่ม นายคงผู้เป็นชาวพื้นเมืองลุ่ม(หล่มเก่า) อาสานำทัพของพระยาอภับภูธรกับพระยาพิชัย ขึ้นไปถึงเมืองหนองบัวลำภู แต่ก็มิได้ทำศึกเพราะทัพของเจ้าพระยาบดินทร์เดชาปราบเรียบร้อยแล้ว ทัพไทยจับอุปฮาดเจ้าเมืองลุ่มได้จึงสำเร็จโทษ เมื่อเสร็จสิ้นศึก นายคงชาวพื้นเมืองลุ่มจึงมีความดีความชอบจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระสุริยวงศาชนะสงครามรามภักดีวิริยะกรมพาหะ เป็นผู้สร้างเมืองหล่มใหม่ขึ้นบริเวณบ้านท่ากกโพธิ์และเป็นเจ้าเมืองหล่มสักท่านแรก เดิมเรียกเมืองหล่มใหม่หรือเมืองหล่มศักดิ์ ต่อจากนั้นมา ในช่วงปรับการปกครองในระบอบเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมืองหล่มสักก็ได้รับการยกขึ้นเป็นจังหวัดและขึ้นอยู่กับมณฑลอุดร และมณฑลพิษณุโลกต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๗ เกิดปัญหาทางเศษรฐกิจจังหวัดหล่มสักจึงได้ถูกโอนย้ายมาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์
เมืองหล่มสักนั้นเป็นเมือง พิเศษคือมิได้เป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้น แต่หากเป็นเมืองที่ประชาชนชาวเมืองได้ร่วมกันก่อตั้ง เริ่มพัฒนาการจากจุดเล็ก ๆ จนกลายเป็นเมืองใหญ่ในระดับหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะสภาพภูมิประเทศอันอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และการทำมาหากินของชาวบ้าน และตลอดจนการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจึงทำให้เกิดเศรษฐกิจภายในชุมชนขึ้น ซึ่งอาจจะสังเกตได้ว่าเมืองหล่มสักมีพัฒนาการค่อนข้างเรียบง่าย ผิดแปลกไปจากเมืองสำคัญ ๆ อื่น ๆ ที่เป็นเมืองที่ได้รับการสนับสนุนเร่งรัดจากสังคมรัฐและสังคมการปกครองชั้นสูงมากกว่าสังคมชาวบ้าน ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นเหตุให้เกิดการศึกษาและวิจัยในเรื่องของความเป็นมาและพัฒนาการของเมืองหล่มสัก เมืองหล่มสักดังที่กล่าวมาแล้วว่า เป็นเมืองที่มีประวัติและวิวัฒนาการมายาวนานหลายยุคหลายสมัยที่ศึกษาได้จากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ยังคงเหลือน้อยเต็มทีและจากตำนานท้อถิ่น

รัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยามประเทศ 2475 /หนูมิ้ง ขอเสนอ




พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว
พุทธศักราช ๒๔๗๕
_______________

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า
โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และ
โดยที่ได้ทรงยอมรับตามคำร้องของคณะราษฎร
จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ไว้โดยมาตราต่อไปนี้
หมวด ๑
ข้อความทั่วไป
มาตรา ๑ อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎร ทั้งหลาย
มาตรา ๒ ให้มีบุคคลและคณะบุคคลดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรตามที่จะได้กล่าวต่อไปในธรรมนูญ คือ
๑. กษัตริย์
๒. สภาผู้แทนราษฎร
๓. คณะกรรมการราษฎร
๔. ศาล
หมวด ๒
กษัตริย์

มาตรา ๓ กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่น ๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไว้โดยฉะเพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามของกษัตริย์
มาตรา ๔ ผู้เป็นกษัตริย์ของประเทศ คือพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การสืบ มฤดกให้ให้เป็นไปตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราช สันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ และด้วยความเห็นชอบของสภาผู้ แทนราษฎร
มาตรา ๕ ถ้ากษัตริย์มีเหตุจำเป็นชั่วคราวที่จะทำหน้าที่ ไม่ได้ หรือไม่อยู่ในพระนคร ให้คณะกรรมการราษฎรเป็น ผู้ใช้สิทธิแทน
มาตรา ๖ กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย
มาตรา ๗ การกระทำใด ๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎร ผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะ กรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
หมวด ๓
สภาผู้แทนราษฎร
ส่วนที่ ๑
อำนาจและหน้าที่
มาตรา ๘ สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจออกพระราชบัญญัติ ทั้งหลาย พระราชบัญญัตินั้นเมื่อกษัตริย์ได้ประกาศให้ใช้ แล้ว ให้เป็นอันใช้บังคับได้
ถ้ากษัตริย์มิได้ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัตินั้นภายใน กำหนด ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับพระราชบัญญัตินั้น จากสภา โดยแสดงเหตุผลที่ไม่ยอมทรงลงพระนาม ก็มีอำนาจส่ง พระราชบัญญัตินั้นคืนมายังสภา เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ถ้าสภาลงมติยืนตามมติเดิม กษัตริย์ไม่เห็นพ้องด้วย สภา มีอำนาจออกประกาศพระราชบัญญัตินั้นใช้บังคับเป็นกฎหมาย ได้
มาตรา ๙ สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจดูแลควบคุมกิจการ ของประเทศ และมีอำนาจประชมกันถอดถอนกรรมการ ราษฎรหรือพนักงานรัฐบาลผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้
ส่วนที่ ๒
ผู้แทนราษฎร
มาตรา ๑๐ สมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นไป ตามกาลสมัยดั่งนี้ สมัยที่ ๑
นับแต่วันใช้ธรรมนูญนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิก ในสมัยที่ ๒ จะเข้ารับตำแหน่งให้คณะราษฎรซึ่งมีคณะผู้รักษา พระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทนจัดตั้งผู้แทนราษฎร ชั่วคราวขึ้นเป็นจำนวน ๗๐ นายเป็นสมาชิกในสภา
สมัยที่ ๒
ภายในเวลา ๖ เดือนหรือจนกว่าการจัดประเทศเป็นปกติ เรียบร้อย สมาชิกในสภาจะต้องมีบุคคล ๒ ประเภททำกิจการ ร่วมกัน คือ
ประเภทที่ ๑ ผู้แทนซึ่งราษฎรจะได้เลือกขึ้นจังหวัดละ ๑ นาย ถ้าจังหวัดใดมีสมาชิกเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน ให้ จังหวัดนั้นเลือกผู้แทนเพิ่มขึ้นอีก ๑ นายทุก ๆ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น เศษของ ๑๐๐,๐๐๐ ถ้าเกินกว่าครึ่งให้นับเพิ่มขึ้นอีก ๑
ประเภทที่ ๒ ผู้เป็นสมาชิกอยู่แล้วในสมัยที่ ๑ มีจำนวน เท่ากับสมาชิกประเภทที่ ๑ ถ้าจำนวนเกินให้เลือกกันเองว่า ผู้ใดจะคงเป็นสมาชิกต่อไป ถ้าจำนวนขาดให้ผู้ที่มีตัวอยู่ เลือกบุคคลใด ๆ เข้าแทนจนครบ

สมัยที่ ๓
เมื่อจำนวนราษฎรทั่วพระราชอาณาเขตต์ได้สอบไล่วิชชา ปถมศึกษาได้เป็นจำนวนเกินกว่าครึ่ง และอย่างช้าต้องไม่ เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้ สมาชิกในสภาผู้แทน ราษฎรจะต้องเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้น สมาชิก ประเภทที่ ๒ เป็นอันไม่มีอีกต่อไป
มาตรา ๑๑ คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้แทน ประเภทที่ ๑ คือ
๑. สอบไล่วิชชาการเมืองได้ตามหลักสูตร์ซึ่งสภาจะได้ ตั้งขึ้นไว้
๒. มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์
๓. ไม่เป็นผู้ไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถ
๔. ไม่ถูกศาลพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิในการรับเลือก
๕. ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย
๖. ฉะเพาะผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้แทนประเภทที่ ๑ ใน สมัยที่ ๒ จะต้องได้รับความเห็นชอบของสมาชิกในสมัยที่ ๑ เสียก่อนว่าเป็นผู้ที่ไม่ควรสงสัยว่าจะนำมาซึ่งความไม่เรียบร้อย
มาตรา ๑๒ การเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ ๑ ที่ ๒ ให้ทำ ดั่งนี้
๑. ราษฎรในหมู่บ้านเลือกผู้แทนเพื่อออกเสียงตั้งผู้แทน ตำบล
๒. ผู้แทนหมู่บ้านเลือกผู้แทนตำบล
๓. ผู้แทนตำบลเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกในสภาผู้แทน ราษฎร
การเลือกตั้งสมาชิกในสมัยที่ ๓ จะมีกฎหมายบัญญัติภาย หลังโดยจะดำเนินวิธีการที่ให้สมาชิกได้เลือกตั้งผู้แทนในสภา โดยตรง
มาตรา ๑๓ ผู้แทนประเภทที่ ๑ จะอยู่ในตำแหน่งได้คราว ละ ๔ ปีนับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง แต่เมื่อถึงสมัยที่ ๓ แล้ว แม้ผู้แทนในสมัยที่ ๒ จะได้อยู่ในตำแหน่งไม่ถึง ๔ ปีก็ดี ต้อง ออกจากตำแหน่งนับแต่วันที่ผู้แทนในสมัยที่ ๓ ได้เข้ารับ ตำแหน่ง
ถ้าตำแหน่งผู้แทนว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราว ออกตามเวร ให้สมาชิกเลือกผู้อื่นตั้งขึ้นใหม่ให้เต็มที่ว่าง แต่ผู้แทนใหม่มีเวลาอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลา ที่ผู้ออกไปนั้นชอบที่จะอยู่ได้
มาตรา ๑๔ ราษฎรไม่ว่าเพศใดเมื่อมีคุณสมบัติดั่งต่อไปนี้ ย่อมมีสิทธิออกเสียงลงมติเลือกผู้แทนหมู่บ้านได้ คือ
๑. มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์
๒. ไม่เป็นผู้ไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถ
๓. ไม่ถูกศาลพิพากษาให้เสียสิทธิในการออกเสียง
๔. ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย
คุณสมบัติของผู้แทนหมู่บ้านและผู้แทนตำบลให้เป็นไป เหมือนดั่งมาตรา ๑๑
มาตรา ๑๕ การเลือกตั้งผู้แทนใด ๆ ให้ถือตามคะแนน เสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้มีการเลือกครั้งที่ ๒ ถ้าครั้งที่ ๒ มีคะแนนเสียงเท่ากันให้ตั้งคนกลางออกเสียงชี้ ขาด และให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนกลางไว้
มาตรา ๑๖ ผู้แทนนอกจากถึงเวร จะต้องออกจาก ตำแหน่ง ให้นับว่าขาดจากตำแหน่ง เมื่อขาดคุณสมบัติดั่ง กล่าวไว้ในมาตรา ๑๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเมื่อตาย หรือ เมื่อสภาได้ได้วินิจฉัยให้ออกในเมื่อสภาเห็นว่าเป็นผู้นำความ เสื่อมเสียให้แก่สภา
มาตรา ๑๗ การฟ้องร้องสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎร เป็นคดีอาชญายังโรงศาลจะต้องได้รับอนุญาตจากสภาก่อน ศาลจึ่งจะรับฟ้องได้

ส่วนที่ ๓
ระเบียบการประชุม

มาตรา ๑๘ ให้สมาชิกเลือกกันขึ้นเป็นประธานของ สภา ๑ นายมีหน้าที่ดำเนิรการของสภา และมีรองประธาน ๑ นายเป็นผู้ทำการแทน เมื่อประธานมีเหตุขัดข้องชั่วคราว ที่จะทำหน้าที่ได้
มาตรา ๑๙ เมื่อประธานไม่อยู่ หรือไม่สามารถมาได้ ก็ให้รองประธานแทนเป็นผู้รักษาความเรียบร้อยในสภา และ จัดการให้ได้ปรึกษาหารือกันตามระเบียบ
มาตรา ๒๐ ถ้าประธานและรองประธานไม่อยู่ในที่ประชุม ทั้ง ๒ คนก็ให้สมาชิกที่มาประชุมเลือกตั้งกันเองขึ้นเป็นประธาน คนหนึ่งชั่วคราวประชุมนั้น
มาตรา ๒๑ การประชุมปกติให้เป็นหน้าที่ของสภาเป็น ผู้กำหนด
การประชุมพิเศษจะมีได้ต่อเมื่อสมาชิกมีจำนวนรวมกัน ไม่น้อยกว่า ๑๕ คนได้ร้องขอหรือคณะกรรมการราษฎรได้ร้อง ขอให้เรียกประชุม การนัดประชุมพิเศษ ประธานหรือผู้ ทำการแทนประธานเป็นผู้สั่งนัด
มาตรา ๒๒ การประชุมทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึ่งจะเป็นองค์ ประชุมปรึกษาการได้
มาตรา ๒๓ การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้น ให้ถือ เอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียง หนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีจำนวนเสียงลงคะแนนเท่ากัน ให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียง หนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๒๔ สมาชิกไม่ต้องรับผิดในถ้อยคำใด ๆ ที่ได้ กล่าวหรือแสดงเป็นความเห็นในการออกเสียงลงคะแนน ในที่ประชุม ผู้หนึ่งผู้ใดจะว่ากล่าวฟ้องร้องเพราะเหตุนั้น หาได้ไม่
มาตรา ๒๕ ในการประชุมทุกคราวประธานต้องสั่ง ให้เจ้าหน้าที่ประจำในสภาจดรายงานรักษาไว้ และเสนอเพื่อ ให้สมาชิกได้ตรวจแก้ไขรับรอง แล้วให้ผู้เป็นประธานใน ที่ประชุมลงนามกำกับไว้
มาตรา ๒๖ สภามีอำนาจตั้งอนุกรรมการเพื่อทำการอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือให้สอบสวนพิจารณาทำความเห็นในเรื่องใด เรื่องหนึ่งขึ้นเสนอต่อที่ประชุมใหญ่เพื่อปรึกษาหารือตกลงอีก ชั้นหนึ่งก็ได้ ประธานอนุกรรมการนั้นเมื่อสภาไม่ได้ตั้งก็ให้ อนุกรรมการเลือกกันเองตั้งขึ้นเป็นประธานได้
อนุกรรมการมีอำนาจเชิญบุคคลใด ๆ มาชี้แจงแสดงความ เห็นได้ อนุกรรมการและผู้ที่เชิญมาได้รับสิทธิในการแสดง ความเห็นตามมาตรา ๒๔
ในการประชุมอนุกรรมการนั้นต้องมีอนุกรรมการมาประชุม ไม่น้อยกว่า ๓ นายจึ่งจะเป็นองค์ประชุมปรึกษาการได้ เว้น แต่อนุกรรมการนั้นจะมีจำนวนตั้งขึ้นเพียง ๓ คน เมื่อมา ประชุมแค่ ๒ คนก็ให้นับว่าเป็นองค์ประชุมได้
มาตรา ๒๗ สภามีอำนาจตั้งระเบียบการปรึกษาหารือ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามธรรมนูญนี้ (ในชั้นแรกนี้ให้ อนุโลมใช้ข้อบังคับสภากรรมการองคมนตรีฉะเพาะที่ไม่ขัด กับธรรมนูญนี้ไปพลางก่อน)

หมวดที่ ๔
คณะกรรมการราษฎร
ส่วนที่ ๑
อำนาจและหน้าที่

มาตรา ๒๘ คณะกรรมการราษฎรมีอำนาจและหน้าที่ ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุที่ประสงค์ของสภา
มาตรา ๒๙ ถ้ามีการฉุกเฉินเกิดขึ้นซึ่งคณะกรรมการจะ เรียกประชุมสภาราษฎรให้ทันท่วงทีมิได้ และคณะกรรมการ ราษฎรเห็นสมควรจะต้องออกกฎหมาย เพื่อให้เหมาะแก่การ ฉุกเฉินนั้น ๆ ก็ทำได้ แต่จะต้องรีบนำกฎหมายนั้นขึ้นให้สภา รับรอง
มาตรา ๓๐ คณะกรรมการราษฎรมีอำนาจให้อภัยโทษ แต่ให้นำความขึ้นขอพระบรมราชานุญาตเสียก่อน
มาตรา ๓๑ ให้เสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ เป็นผู้รับผิดชอบต่อคณะกรรมการราษฎรในกิจการทั้งปวง
สิ่งใดซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งหรือระเบียบการของคณะ กรรมการราษฎร หรือกระทำไปโดยธรรมนูญไม่อนุญาตให้ทำ ได้ ให้ถือว่าการนั้นเป็นโมฆะ

ส่วนที่ ๒
กรรมการราษฎรและเจ้าหน้าที่ประจำ

มาตรา ๓๒ คณะกรรมการราษฎรประกอบด้วยประธานคณะกรรมการราษฎร ๑ นาย และกรรมการราษฎร ๑๔ นาย รวมเป็น ๑๕ นาย
มาตรา ๓๓ ให้สภาเลือกตั้งสมาชิกในสภาผู้ ๑ ขึ้นเป็น ประธานกรรมการ และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกใน สภาอีก ๑๔ นายเพื่อเป็นกรรมการ การเลือกนี้เมื่อได้รับ ความเห็นชอบของสภาแล้ว ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับเลือกนั้น ๆ เป็นกรรมการของสภา ในเมื่อสภาเห็นว่ากรรมการมิได้ดำเนิน กิจการตามรัฐประศาสโนบายของสภา สภามีอำนาจเชิญ กรรมการให้ออกจากหน้าที่ แล้วเลือกตั้งใหม่ตามที่กล่าวใน ตอนนั้น
มาตรา ๓๔ กรรมการคนใดมีเหตุอันกระทำให้กรรมการ คนนั้นขาดคุณสมบัติอันกำหนดไว้สำหรับผู้แทนในมาตรา ๑๑ ก็ตาม หรือตายก็ตาม ให้สภาเลือกกรรมการแทนสำหรับ ตำแหน่งนั้น ๆ
ในเมื่อสภาได้เลือกตั้งกรรมการแล้ว สภาชุดนั้นหมด กำหนดอายุตำแหน่งเมื่อใด ให้ถือว่ากรรมการชุดนั้นย่อม หมดกำหนดอายุตำแหน่งด้วย
มาตรา ๓๕ การตั้งการถอดตำแหน่งเสนาบดี ย่อมเป็น พระราชอำนาจของกษัตริย์ พระราชอำนาจจะทรงใช้แต่ โดยตามคำแนะนำของคณะกรรมการราษฎร
มาตรา ๓๖ การเจรจาการเมืองกับต่างประเทศเป็นหน้าที่ ของกรรมการผู้แทนราษฎร และกรรมการอาจตั้งผู้แทนเพื่อ การนี้ได้
การเจรจาได้ดำเนินไปประการใดให้กรรมการรายงานกราบ บังคมทูลกษัตริย์ทรงทราบ
การให้สัตยาบันสัญญาทางพระราชไมตรีเป็นพระราช อำนาจของกษัตริย์ แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ตามคำ แนะนำของกรรมการราษฎร
มาตรา ๓๗ การประกาศสงครามเป็นพระราชอำนาจของ กษัตริย์ แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ตามคำแนะนำของ กรรมการราษฎร

ส่วนที่ ๓
ระเบียบการประชุม

มาตรา ๓๘ ระเบียบการประชุมของคณะกรรมการ ราษฎรให้อนุโลมตามที่บัญญัติในหมวดที่ ๓

หมวดที่ ๕
ศาล

มาตรา ๓๙ การระงับข้อพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมาย ที่ใช้อยู่ในเวลานี้
ประกาศมาณวันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ และให้ใช้บังคับได้แต่บัดนี้เป็นต้นไป

(พระบรมนามาภิธัย) ประชาธิปก ป.ร.

เล่ม 49 หน้า 166 วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475